“ฟลูออไรด์”เป็นเกลือของธาตุฟลูออรีน พบได้ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ดิน น้ำ อากาศ หินแร่ หรือแม้ว่าในอาหารบางชนิด โดยเฉพาะอาหารทะเลและผักบางชนิด ตลอดจนได้มีการผลิตขึ้นเพื่อประโยชน์ในด้านต่างๆ ในชีวิตประจำวันคนเราจะได้รับทางธรรมชาติจากน้ำดื่มและอาหาร ฟลูออไรด์จึงถูกดูดซึมได้เกือบหมดและไปสะสมที่กระดูกและฟัน ซึ่งในทางทันตกรรมถูกใช้ในการป้องกันฟันผุ และยังใช้เป็นส่วนผสมอย่างแพร่หลายในผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่นๆ เช่น ยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปาก เพื่อเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรงอีกด้วย
ฟลูออไรด์ที่ได้รับจากอาหารหรือ“น้ำดื่ม”จะถูกดูดซึมเข้าสู่ระบบทางเดินอาหารเกือบทั้งหมด โดยร้อยละ 50 จะถูกขับออกทางไต และส่วนที่เหลือจะเก็บสะสมที่กระดูกและฟัน โดยกลไกการทำงานของฟลูออไรด์ในการป้องกันฟันผุจะแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ ลดการละลายของแร่ธาตุที่ออกจากฟัน เสริมสร้างความแข็งแรงของฟัน ลดการเจริญเติบโตและการสร้างกรดของแบคทีเรีย
หากเราได้รับปริมาณฟลูออไรด์มากเกินความต้องการจะเกิดอะไรขึ้น ? องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดมาตรฐานของน้ำบริโภคให้มีปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำได้ไม่เกิน 1.5 mg/L เท่านั้น เพราะถ้าได้รับในปริมาณที่มากเกินพอจะทำให้เกิดอาการฟันตกกระ โดยเฉพาะในวัยเด็ก รวมถึงปัญหาด้านสุขภาพอื่นๆ เช่น ระบบประสาทและกระดูก ทำให้ความสามารถในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ลดลง กระดูกโก่งงอ เจ็บปวดตามข้อ และอาจร้ายแรงจนถึงขั้นพิการ
ค่ามาตรฐานปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำดื่ม
หน่วยงาน | เกณฑ์ค่ามาตรฐานฟลูออไรด์
ในน้ำบริโภค (mg/L) |
อ้างอิง |
องค์การอนามัยโลก | < 1.5 | WHO (2011) |
มาตรฐานคุณภาพน้ำดื่ม
เพื่อการบริโภค |
< 0.7 หรือมากสุดไม่เกิน <1.0 | ราชกิจจานุเบกษา 2521 |
มอก. 257-2549 น้ำดื่ม / น้ำบริโภค | < 0.7 หรือมากสุด < 1.0 | ราชกิจจานุเบกษา 2549 |
มาตรฐานคุณภาพน้ำประปา | < 0.7 | การประปาส่วนภูมิภาค 2550 |
มาตรฐานคุณภาพน้ำบาดาล | < 0.7 หรือมากสุด < 1.0 | ราชกิจจานุเบกษา 2552 |
น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุปิดสนิท | < 0.7 | ราชกิจจานุเบกษา 2553 |
น้ำประปาดื่มได้ | < 0.7 | กรมอนามัย 2563 |
ดังนั้นเราจึงต้องควบคุมปริมาณฟลูออไรด์ให้เป็นไปตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลกเพื่อสุขภาพที่ดี และยังช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันอีกด้วย การตรวจสอบหาปริมาณฟลูออไรด์ในตัวอย่างน้ำต่างๆ จะต้องใช้เครื่องมือวัดค่าฟลูออไรด์ในน้ำดื่มที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับการใช้งานจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางด้านสุขภาพที่จะตามมา
ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีต่างๆ ที่จะช่วยในการหาปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำดื่ม เช่น วิเคราะห์ด้วยวิธี วัดปริมาณไอออนฟลูออไรด์ที่อยู่ในน้ำ (Ion Analyzer) โดยใช้หัววัดฟลูออไรด์เฉพาะ วิเคราะห์ด้วยเครื่องสเปคโตโฟโตมิเตอร์โดยอาศัยหลักการดูดกลืนแสง หรือวิเคราะห์ด้วยวิธีโครมาโทกราฟีอาศัยหลักการแยกสารผสมและตรวจสอบความบริสุทธิ์ของสาร ถึงแม้จะสามารถหาปริมาณฟลูออไรด์ได้หลายวิธีในส่วนของข้อจำกัดของวิธีนั้นๆ ก็มีส่วนสำคัญเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นก่อนจะเลือกใช้เครื่องมือจึงต้องศึกษาหรือสอบถามผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้อง
ทางบริษัทมีเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์หาปริมาณฟลูออไรด์ด้วยเครื่องสเปคโตโฟโตมิเตอร์และวิเคราะห์ด้วยหัววัดหาปริมาณฟลูออไรด์แบบเฉพาะเจาะจง
บริษัท ฮานนา อินสทรูเม้นท์ส (ประเทศไทย) จำกัด
ผู้ผลิตเครื่องมือวัดชั้นนำ
“เพราะเราเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ”
WITH GREAT PRODUCTS, COME GREAT RESULTS.
Email Addresses
shop@hannathaicom
CONTACT US
Line : @hannathailand
FB : HannaThailand