ค่า pH ในดินมีส่วนช่วยให้พืชสามารถดูดซับสารอาหารจากดินได้ดีขึ้น ซึ่งถ้าหากพืชเจริญเติบโตในดินที่มีค่าความเป็นกรดต่ำเกินไป ใบก็จะเหลือง เนื่องจากไม่สามารถดูดธาตุเหล็กเข้าไปบำรุงต้นได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นดินที่จะเหมาะกับการปลูกพืช จึงต้องมีค่าความเป็นกรดอยู่พอสมควรเพื่อที่ความเป็นกรดจะได้แปลงธาตุอาหารให้พืชดูดกินได้สะดวก เพราะฉะนั้นการวัดค่า pH หรือกรดด่างในดินจึงถือเป็นเรื่องที่คนทำการเกษตรต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ สำคัญพอๆ กับเรื่องความชื้น อุณหภูมิ และอากาศ เพราะค่าความเป็นกรดด่างที่มาก หรือน้อยจนเกินไปจะส่งผลกระทบต่อผลผลิตของพืช รวมทั้งผลกำไรขาดทุน จึงควรจะต้องมี“เครื่องวัดค่า pH” (pH meter)
สภาวะดินที่เหมาะสำหรับปลูกพืชได้ดีที่สุด
ดินที่มีค่า pH ประมาณ 6.5 จะเป็นดินที่ปลูกพืชได้ดีที่สุด เพราะค่อนข้างเป็นกลาง แต่จะมีพืชบางชนิด เช่น บลูเบอร์รี่ ชวนชม ดอกพุด ที่จะเจริญเติบโตได้ดีในค่าความเป็นกรด จึงต้องใช้ดินที่มีค่า pH 4.5 – 5.5 เรียกได้ว่าก่อนที่จะปลูกพืชควรศึกษาเรื่องค่า pH ในดินไว้ด้วย เพื่อให้พืชเจริญเติบโตได้ดีขึ้น
ทำไมจึงต้องเช็กระดับค่า pH อยู่ตลอด
เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่างทั้งแร่ธาตุในดิน และระดับน้ำฝนที่ตกในแต่ละปี รวมไปถึงปุ๋ยที่เราใส่บำรุงพืช ล้วนทำให้ค่า pH ในดินสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ดังนั้นเราจึงต้องหมั่นตรวจสอบ และสังเกตค่า pH ในดินอยู่เสมอ เพื่อที่จะได้ปรับระดับค่า pH ในดินให้มีความเหมาะสมกับพืช
1.ค่า pH ในดินหมายถึงอะไร
pH ย่อมาจาก Potential of hydrogen ion เป็นหน่วยที่ใช้แสดงความเป็นกรดด่างของสารเคมีในดินจากปฏิกิริยาของไฮโดรเจน ซึ่งจะแตกตัวเป็น H+ หรือไฮโดรเจนไอออน และ OH– หรือไฮดรอกไซด์ไอออน หากพบปริมาณของไฮโดรเจนไอออน (H+) มีมากกว่าไฮดรอกไซด์ไอออน (OH–) แสดงถึงสภาวะของดินนั้นเป็นกรด ในทางกลับกันหากพบปริมาณของไฮดรอกไซด์ไอออน (OH–) มีมากกว่าไฮโดรเจนไอออน (H+) แสดงถึงสภาวะของดินนั้นเป็นด่าง แต่ถ้าพบในปริมาณเท่าๆ กันแสดงถึงสภาวะของดินนั้นเป็นกลาง
เพื่อให้เข้าใจง่ายๆ จะกำหนดตัวเลข 1-14 pH ในการแสดงค่าความเป็นกรดด่าง โดยที่มี pH 7 เป็นค่ากลาง ถ้าวัดค่า pH ในดินแล้วได้ค่าต่ำกว่า pH 7 แสดงว่าดินนั้นเป็นกรด (ดินเปรี้ยว) แต่ถ้าวัดออกมาแล้วได้มากกว่า pH 7 ก็แสดงว่าดินนั้นเป็นด่าง (ดินเค็ม) โดยปกติแล้วดินส่วนใหญ่จะต้องมีค่า pH อยู่ในช่วง pH 5-8 ดังนั้นจึงเป็นสาเหตุที่เครื่องวัดค่า pH ดินจะต้องเลือกในช่วง pH 3-8
อย่าจำตัวเลขค่ากรดด่างผิดนะ
ถ้าจำสลับกันเมื่อไร บอกเลย “งานเข้าแน่นอน”
ระดับความรุนแรงของค่า pH ในดิน โดยปกติจะมีการแบ่งขั้นของสภาพกรดด่างตามค่า pH ตามตารางด้านล่างดังนี้
pH |
สภาพความเป็นกรดด่าง | pH |
สภาพความเป็นกรดด่าง |
< 3.5 |
กรดรุนแรงที่สุด |
6.6-7.3 |
กลาง |
3.5-4.5 |
กรดรุนแรงมาก |
7.4-7.8 |
ด่างเล็กน้อย |
4.6-5.0 |
กรดจัดมาก |
7.9-8.4 |
ด่างปานกลาง |
5.1-5.5 |
กรดจัด |
8.5-9.0 |
ด่างจัด |
5.6-6.0 |
กรดปานกลาง |
> 9.0 |
ด่างจัดมาก |
6.1-6.5 |
กรดเล็กน้อย |
สำหรับค่า pH ในดินที่เหมาะสมสำหรับพืชโดยทั่วๆ ไป ควรอยู่ในช่วง pH 6.0-6.5 หรือ “กรดอ่อนๆ” เป็นช่วงที่เหมาะที่สุด พืชสามารถเอาธาตุอาหารไปใช้ได้มากที่สุด ส่วนดินที่มีค่า pH ต่ำกว่า 5.5 (กรดจัด) หรือตั้งแต่ pH 8.5 (ด่างจัด) จะถูกจัดให้เป็นดินที่มีปัญหาด้านเกษตร เนื่องจากเป็นดินที่ขาดธาตุอาหาร มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ และเพาะปลูกได้ยาก แต่ถึงอย่างไรก็ตามควรจะพิจารณาจากชนิดของพืชที่ต้องการปลูกควบคู่ไปด้วย บางชนิดเจริญเติบในสภาวะดินเป็นกรดจัด หรือด่างจัดก็อาจจะมีความเป็นไปได้ ตัวอย่างเช่น กรดจัด – ชา ทุเรียน สับปะรด // ด่างจัด – ขนุน ส้มโอ มะขามเทศ
2.ผลกระทบของดินที่เป็นกรดจัด หรือด่างจัดต่อพืช
ทางการเกษตรแนะนำให้ควบคุมค่า pH ของดินในช่วง 6.0-6.5 เท่านั้น หลายคนอาจจะคิดว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยตรง แต่ในความเป็นจริงค่า pH เป็นตัวแปรที่ควบคุมการปลดปล่อยธาตุอาหารของพืชในดินต่างหาก หากปลดปล่อยออกมาเกินความต้องการก็เกิดอันตรายต่อพืช หากปลดปล่อยน้อยเกินไปก็ไม่ดี ควรจะปลดปล่อยให้พอดีพอเหมาะ
ค่า pH ของพืชแต่ละชนิด อ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ดังนี้
ชนิดของพืช |
ค่าความเป็นกรดด่าง |
มะพร้าว กล้วย อ้อย ทานตะวัน ถั่วเหลือง |
6.0 – 7.0 |
ข้าวโพด หญ้า ไม้ดอกไม้ประดับ |
5.5 – 7.0 |
ถั่วฝักยาว |
5.5 – 6.8 |
ข้าวฟ่าง ส้ม พริก ฟักทอง ถั่วลิสง |
5.5 – 6.5 |
สับปะรด |
5.0 – 6.5 |
ยางพารา |
4.0 – 6.5 |
แคนตาลูป กระเจี๊ยบ หอม |
6.0 -6.5 |
มันเทศ |
5.6 – 6.0 |
ยาสูบ |
5.4 – 6.0 |
มันฝรั่ง ฝ้าย กาแฟ |
5.0 – 6.0 |
แตงโม |
5.0 – 5.5 |
ชา |
4.0 – 5.5 |
3.วิธีปรับค่า pH ของดิน
การปรับค่า pH ในดินถือว่ามีความสำคัญมาก เนื่องจากเป็นการคาดคะเนความอุดมสมบูรณ์ของดินได้แล้วยังทำให้เกษตรกรประเมินสภาพดินเบื้องต้นเพื่อหาวิธีการแก้ไขสภาพดินได้ทันท่วงทีก่อนที่จะเกิดปัญหาตามมาภายหลัง
แนวทางการแก้ปัญหาดินเป็นกรด
- ใช้วัสดุอินทรีย์คลุมหน้าดิน
- การใส่ปุ๋ยหมัก
- การเลือกชนิดพันธุ์พืชที่ทนกับความเป็นกรด
- การปรับปรุงสภาวะธาตุอาหารของพืชในดินให้เพียงพอ
- การใช้ปูนปรับระดับ pH เช่น ปูนมาร์ล ปูนโดโลไมต์
*** ไม่แนะนำให้ใช้น้ำหมักชีวภาพเด็ดขาดเพราะน้ำหมักมีค่าความเป็นกรดสูง
แนวทางการแก้ปัญหาดินเป็นด่าง
- การใช้ปูนปรับระดับ pH เช่น ปูนยิบซั่ม
- ใช้วัสดุอินทรีย์คลุมหน้าดิน
- ใช้น้ำหมักที่มีค่าความเป็นกรดสูงๆ รดอย่างสม่ำเสมอ
- การเลือกชนิดพันธุ์พืชที่ทนกับความเป็นด่าง
- การปรับปรุงสภาวะธาตุอาหารของพืชในดินให้เพียงพอ
pH Meter คือเครื่องมือที่ให้ความละเอียดและถูกต้องแม่นยำสูง
เครื่อง pH meter มีหลายแบบ เช่น แบบปากกา แบบมือถือ แบบตั้งโต๊ะ หรือแบบติดตั้ง ซึ่งการวัดค่า pH โดยใช้เครื่อง pH Meter นั้นจะเหมาะกับการใช้ในงานอุตสาหกรรมมากที่สุด หากมีการเลือกเครื่องมือวัดให้ตรงกับประเภทของการใช้งาน
เครื่องวัด pH Meter จาก ฮานนา
(คลิกเพื่อดูสินเค้าเพิ่มเติม HI98168)
บริษัท ฮานนา อินสทรูเม้นท์ส (ประเทศไทย) จำกัด
ผู้ผลิตเครื่องมือวัดชั้นนำ
“เพราะเราเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ”
WITH GREAT PRODUCTS, COME GREAT RESULTS.
Email Addresses
CONTACT US
Line : @hannathailand
FB : HannaThailand