ระบบการบำบัดน้ำเสีย | ตามส่วนผสมหลักของน้ำเสีย

ระบบบำบัดน้ำเสียเป็นระบบที่ลดปริมาณของเสียที่อยู่ในสภาพของเหลวให้น้อยลงหรืออยู่ในสภาพที่ไม่ก่อปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม การกำจัดสิ่งปนเปื้อนในน้ำที่เกิดจากกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมหรือเกิดจากกิจวัตรประจำวันของประชาชนที่อยู่อาศัยในชุมชนหรือแหล่งที่อยู่อาศัยต่าง ๆ ให้หมดไป โดยน้ำเสียเป็นน้ำที่ผ่านการนำไปใช้ประโยชน์ในกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งน้ำเสียเหล่านี้ต้องได้รับการบำบัดก่อนปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งหลักการบำบัดน้ำเสียคือการกำจัดสิ่งปนเปื้อนเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งที่กำหนดไว้

เมื่อพูดถึงการบำบัดน้ำเสียพารามิเตอร์แรกที่เราควรคำนึงถึงคือค่า BOD ซึ่งเป็นน้ำเสียประเภทที่มีสารอินทรีย์สะสมอยู่ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน เป็นต้น  เมื่อพบว่าค่า BOD ในน้ำสูง แสดงว่ามีสารอินทรีย์ปะปนอยู่มาก และบ่งชี้ถึงสภาพน้ำเน่าเหม็นมาก

ดังนั้นจึงสามารถแบ่งประเภทน้ำเสียเป็น 5 ประเภท ดังนี้

  1. น้ำเสียประเภทที่มีสารอินทรีย์ ซึ่งเกิดจากน้ำกินน้ำใช้ โดยหลักการพิจารณาค่า BOD (Biochemical Oxygen Demand) หมายถึงการวัดค่าความเน่าเสียจากน้ำที่ใช้อุปโภคบริโภค ค่า BOD จะแสดงให้เห็นถึงปริมาณออกซิเจนที่แบคทีเรียต้องการใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ กล่าวคือ ถ้าน้ำเสียมีค่า BOD ต่ำ จะสามารถทิ้งสู่สิ่งแวดล้อมได้เพราะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หากพบค่า BOD สูง เมื่อถูกทิ้งสู่สิ่งแวดล้อมจะทำให้ปริมาณออกซิเจนในแหล่งน้ำนั้น ๆ ลดลงจนทำให้ปลาหรือสิ่งมีชีวิตอื่นไม่สามารถอยู่ได้และตายในที่สุด
  2. น้ำเสียประเภทที่มีสารเคมี โดยพิจารณาจากค่า COD (Chemical Oxygen Demand) หมายถึงค่าวัดความเน่าเสียของน้ำเสียที่เกิดจากสารเคมี โดยค่า COD จะแสดงให้เห็นถึงปริมาณออกซิเจนที่ใช้ในการออกซิไดร์เกิดเป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ
  3. น้ำเสียในรูปสารแขวนลอย โดยพิจารณาค่า TDS (Total Dissolved Solid) ที่ต้องบำบัดคือปริมาณของแข็งที่ละลายในน้ำและสามารถไหลผ่านกระดาษกรองใยแก้ว เมื่อกรองปริมาณสารแขวนลอยออกมาจึงเอาน้ำส่วนใสที่ป่านกระดาษกรองใยแก้วไประเหยจะทำให้สามารถหาปริมาณสารได้
  4. น้ำเสียที่มีส่วนผสมของโลหะหนัก
  5. น้ำเสียจากสารเคมีอื่น ๆ

ขั้นตอนการบำบัดน้ำเสีย

  1. ขั้นตอนการเตรียมการ (Pretreatment) เป็นการกำจัดของแข็งที่มีขนาดใหญ่ออกจากน้ำเสียก่อนที่จะมีการปล่อยเข้าสู่ระบบ“บำบัดน้ำเสีย”พื่อป้องกันการอุดตันของท่อและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เครื่องสูบน้ำ โดยมีระดับขั้นตอนการบำบัดดังนี้
  • การดักด้วยตะแกรง
  • การบดตัด
  • การดักกรวยทราย
  • การกำจัดไขมันและน้ำมัน
  1. การบำบัดน้ำเสียขั้นที่สอง (Secondary Treatment) เป็นการกำจัดน้ำเสียที่เป็นพวกสารอินทรีย์ที่อยู่ในรูปของสารละลายหรืออนุภาคคอลลอยด์ โดยทั่วไปเรียกว่า “การบำบัดน้ำเสียด้วยขบวนการทางชีววิทยา” เนื่องจากต้องอาศัยแบคทีเรียในการย่อยสลายสิ่งสกปรกในน้ำเสีย ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
  • แบบใช้ออกซิเจน การเพิ่มออกซิเจนในน้ำเสียและจะต้องมีปริมาณที่เพียงพอถึงจะทำให้น้ำไม่เน่าเสีย เพื่อให้แบคทีเรียขยายตัวและทำหน้าที่ย่อยสลายอินทรีย์ได้เร็วขึ้น โดยแบคทีเรียจะจับตัวเป็นก้อนแล้วตกตะกอนออกมา
  • แบบไม่ใช้ออกซิเจน อาศัยแบคทีเรียไม่ใช้อากาศในการย่อยสลายอินทรีย์ที่เจือปนอยู่ในน้ำเสีย แต่อาจใช้เวลานานในการย่อยสลาย และเมื่อย่อยสลายเสร็จจะทำให้แหล่งน้ำเกิดกลิ่นเหม็น
  1. การบำบัดน้ำเสียขั้นสูง (Advance Treatment) หลังจากการบำบัดน้ำในขั้นที่สองแล้วเพื่อกำจัดสิ่งสกปรกบางอย่างที่ยังคงเหลืออยู่ อาทิเช่น โลหะหนักหรือเชื้อโรคบางชนิด เป็นต้น ก่อนที่จะระบายสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ซึ่งการบำบัดน้ำเสียในขั้นนี้จะไม่เป็นที่นิยมในการปฏิบัติ เนื่องจากมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ซับซ้อน และค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นทำให้ผู้ที่ต้องการจะบำบัดขั้นสูงส่วนใหญ่เลือกที่จะบำบัดเพื่อนำมาใช้อีกครั้งเพื่อหมุนเวียน

 

(คลิกเพื่อดูสินเค้าเพิ่มเติม)

 

บริษัท ฮานนา อินสทรูเม้นท์ส (ประเทศไทย) จำกัด

ผู้ผลิตเครื่องมือวัดชั้นนำ

“เพราะเราเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ”

WITH GREAT PRODUCTS, COME GREAT RESULTS.

 

Email Addresses

info@hannathaicom

 

CONTACT US

Line : @hannathailand

FB : HannaThailand