“ความขุ่นของเบียร์”คือปัจจัยที่เป็นตัวแปรสำคัญในการควบคุมคุณภาพของกระบวนการผลิตเบียร์คือ สีของ“เบียร์” เริ่มต้นครั้งแรกประมาณปลายทศวรรษ 1880 หลังจากที่ J.W. Lovibond ได้พัฒนาแก้วสีขึ้นเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบตัวอย่างเบียร์เพื่อกำหนดค่าตัวเลขจากการประมาณทางสายตา หรือที่รู้จักกันว่า “Degrees Lovibond” แต่ถึงอย่างไรก็ตามวิธีการนี้ยังคงมีข้อจำกัดในเรื่องของการรับรู้ค่าสีที่แตกต่างกันของแต่ละกลุ่มบุคคล จนกระทั่งประมาณทศวรรษ 1950 ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ ร่วมด้วยหน่วยงาน American Society of Brewing Chemists ก็ได้นำระบบนี้มาพัฒนาใหม่ในชื่อระบบสี “Standard Reference Method (SRM)” และได้ถูกพัฒนาในแถบยุโรปอีกเช่นเดียวกันโดยหน่วยงาน European Brewing Convention (EBC)
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับส่วนประกอบของเบียร์กันก่อน โดยเบียร์ทำมาจากส่วนประกอบหลัก ได้แก่
- มอลต์ (Malt) เป็นเมล็ดธัญพืช มอลต์แต่ละแบบจะส่งผลต่อสีและรสชาติของเบียร์ โดยนิยมใช้จากข้าวบาร์เลย์ เพราะมีปริมาณเอนไซม์อะไมเลสสูงส่งผลให้กระบวนการแตกตัวของแป้งเป็นน้ำตาลเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
- ยีสต์ (Yeast) ทำหน้าที่เปลี่ยนน้ำตาลในมอลต์ให้เป็นแอลกอฮอล์และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
- น้ำ (Water) เป็นตัวทำละลายในเบียร์มากถึง 95%
- ฮอปส์ (hops) เป็นพืชที่ให้กลิ่นหอมและรสขม มีหลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งให้รสชาติที่แตกต่างกันออกไป เมื่อนำฮอปส์ไปต้มจะเกิดเป็นกรดฮอปส์
การเลือกเครื่องมือที่ทันสมัยและให้ผลการวัดที่ถูกต้องแม่นยำย่อมเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในกระบวน“การผลิตเบียร์” การวัดค่าสีและความขุ่นของเบียร์ไม่ใช่แค่เรื่องของรสชาติแต่ยังบ่งบอกถึงคุณภาพของเบียร์และความแตกต่างในกระบวนการผลิตอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น
- ปั๊มเวิร์ทที่ตกตะกอน
ในถังคัดแยกของเหลว เมล็ดธัญพืชที่ถูกใช้จะรวมตัวกันอยู่ที่ก้นถัง ทำให้เกิดเป็นชั้นกรอง ขณะที่เกิดชั้นเวิร์ทที่เคลื่อนผ่านจะมีความขุ่น และต้องถูกนำไปรีไซเคิลกลับไปที่ถัง ซึ่งท้ายที่สุดแล้วชั้นของเมล็ดธัญพืชจะต้องรวมตัวกันจนหนาพอที่จะทำให้เวิร์ทนั้นมีความใสมากพอที่จะส่งไปเก็บที่หม้อทองแดง - การถ่ายเทเวิร์ทรอบแรกและการราดน้ำร้อน
ในขณะที่ถังกำลังระบายน้ำออก ใบมีดตัดที่กำลังหมุนจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อความขุ่นของเวิร์ท ดังนั้นจึงต้องมีระบบสัญญาณวัดค่าความขุ่น เพื่อใช้เพิ่มหรือลดระดับใบมีดเพื่อควบคุมความขุ่นเท่าที่จำเป็น นอกจากนี้เพื่อที่จะนำเวิร์ทออกมาให้ได้มากที่สุด จึงจำเป็นต้องมีการเทน้ำร้อนล้างผ่านเมล็ดธัญพืชที่ใช้ ซึ่งในกระบวนการนี้ระบบสัญญาณความขุ่นก็จะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของใบมีดตัดอัตโนมัติเช่นเดียวกัน - ระบบน้ำวน
ในระบบน้ำวนอนุภาคที่ตกตะกอนออกมาระหว่างการต้มเวิร์ทจะถูกแยกออกจากของเหลวด้วยระบบวัดค่าความขุ่นแบบอิไลน์ที่สามารถตรวจวัดความใสของเวิร์ทที่เพิ่งต้มออกมาร้อนๆ เพื่อตรวจสอบและวัดคุณภาพ - การกรองและการบรรจุเบียร์
ความใสของเบียร์เป็นสิ่งที่วัดค่าทั่วไปโดยหน่วยงาน EBC หรือ ASBC โดยค่าความขุ่นของเบียร์ที่ผ่านการกรองแล้วจะต้องน้อยกว่า 1 EBC หรือเทียบเท่ากับ 69 ASBC สำหรับในการตรวจวัดความขุ่นของเบียร์จะต้องตรวจ 2 จุด โดยวัดจากมุมกระเจิงแสงที่มุม 90˚ และ 25˚ เนื่องจากมุม 90˚ จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับความเข้มข้นของอนุภาคขนาดเล็กที่ไม่ละลายน้ำ เช่น โปรตีนของเบียร์และกลูแคน - การผสม
ในกระบวนการผลิตเบียร์จะมีความถ่วงจำเพาะที่สูง ดังนั้นปริมาณสารสกัดเริ่มแรกจะถูกปรับแต่งด้วยเบียร์ที่ผสมกับน้ำที่ผ่านกระบวนการลดก๊าซที่ละลายแล้ว ซึ่งขั้นตอนการผสมนี้จะเกิดหลังจากการกรองเบียร์เสร็จ เพราะนอกจากต้องพิจารณาปริมาณสารสกัดเริ่มแรก การตรวจวัดสีตามกรรมวิธีของ EBC ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นมากในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะภายนอกของเครื่องดื่มในขั้นสุดท้าย โดยผลลัพธ์ที่ต้องการของการผลิตนี้คือ สีที่สม่ำเสมอและมีความใส ซึ่งสีของเครื่องดื่มจะสามารถตรวจสอบได้โดยเครื่องมือวัดการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่นแบบเฉพาะเจาะจง
สำหรับเครื่องมือวัดค่าความขุ่นหรือความใสของเบียร์เราจะแนะนำรุ่น HI847492 ซึ่งได้รับการออกแบบตามมาตรฐาน ASBC อาศัยเทคนิควิธีการวัดการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 580 นาโนเมตรแบบเฉพาะเจาะจง โดยตรวจจับแสงกระเจิงชนิด Silicon photocell ที่มุม 90˚ และ 180˚ แสดงผลออกมาในหน่วย FTU สามารถอ่านค่าความขุ่นของเบียร์ได้สูงสุดถึง 1000 FTU
pH Meter คือเครื่องมือที่ให้ความละเอียดและถูกต้องแม่นยำสูง
“เครื่อง pH meter” มีหลายแบบ เช่น แบบปากกา แบบมือถือ แบบตั้งโต๊ะ หรือแบบติดตั้ง ซึ่งการวัดค่า pH โดยใช้เครื่อง pH Meter นั้นจะเหมาะกับการใช้ในงานอุตสาหกรรมมากที่สุด หากมีการเลือกเครื่องมือวัดให้ตรงกับประเภทของการใช้งาน
“เครื่องวัด pH Meter จาก ฮานนา”
บริษัท ฮานนา อินสทรูเม้นท์ส (ประเทศไทย) จำกัด
ผู้ผลิตเครื่องมือวัดชั้นนำ
“เพราะเราเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ”
WITH GREAT PRODUCTS, COME GREAT RESULTS.
Email Addresses
info@hannathaicom
CONTACT US
Line : @hannathailand
FB : HannaThailand