ปัจจุบันประเทศไทยมีโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมดมากกว่าหนึ่งแสนโรงงาน จึงทำให้การควบคุมโรงงานอุตสาหกรรมให้ดำเนินการตามเกณฑ์มาตรฐานต่างๆ ทำได้ยากลำบาก ถึงแม้จะมีกฎหมายบังคับมากมาย ก็ยังคงพบบางโรงงานละเมิดไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย มีการลักลอบทิ้ง“น้ำเสีย”ลงสู่แม่น้ำ ลำคลอง บริเวณที่ใกล้เคียงกับที่ตั้งของโรงงาน ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดน้ำเน่าเสีย ดังนั้นการบำบัดน้ำเสียที่เกิดจากกระบวนผลิตอุตสาหกรรมจึงมีความจำเป็นอย่างมาก เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดี
“ไซยาไนด์” คือสารพิษตัวหนึ่งมีการปนเปื้อนได้ทั้งในอากาศ น้ำ หรือตะกอนดิน ซึ่งเกิดจากกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม การเกษตร การเพาะเลี้ยงกุ้งและสัตว์น้ำ เช่น สารพิษโซเดียมไซยาไนด์ ที่นำมาใช้ในการเตรียมบ่อ เตรียมน้ำ และกำจัดพาหะ ไม่ว่าจะเป็นปู แมลง ปลา หรือหอยบางชนิดในบ่อเลี้ยงกุ้ง สารโซเดียมไซยาไนด์ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการอุตสาหกรรม เช่น การทำพลาสติก ถุงมือยาง ฟองหนัง การทำโลหะ ผลิตวงจรอิเล็กทรอนิกส์ การทำเม็ดสี การทำจิวเวอร์รี่
เป็นต้น รวมถึงในบางประเทศใช้ในการจับปลาสวยงามตามแนวปะการัง แต่ส่วนมากจะทำให้ปลาและปะการังเสียชีวิต สารพิษชนิดนี้จึงจัดเป็นสารที่มีความอันตรายร้ายแรงมากต่อระบบนิเวศน์และสิ่งมีชีวิตในทะเลโดยรวมทั้งหมด
นอกจากนั้นไซยาไนด์ยังสามารถตกค้างหรือดูดซับในตะกอนดินได้ด้วย โดยมีรายงานว่าในตะกอนดินที่มีโลหะหนัก โดยเฉพาะดินที่มีสนิมเหล็ก โคบอลล์ หรือสังกะสี พบว่าไซยาไนด์จะถูกดูดซับไว้ในดินพวกนี้ได้ดีมาก ยิ่งในช่วงที่ดินมีค่าพีเอชต่ำและมีตะกอนดินมากๆ แต่หากพบพีเอชมากกว่า 9.2 ไซยาไนด์จะเคลื่อนตัวไปอยู่กับน้ำแทน โดยปกติไซยาไนด์มีค่าครึ่งชีวิตประมาณ 334 วันหรือ 1 ปี ในบางพื้นที่รายงานว่าอาจสูงถึง 3 ปีหรือ 11 ปี และที่สำคัญคือไม่ถูกทำลายด้วยแสงแดด
ความเป็นพิษของไซยาไนด์
ไซยาไนด์เป็นสารประกอบที่มีอยู่ในพืชกว่า 1000 ชนิด ทำให้มนุษย์และสัตว์มีโอกาสได้รับไซยาไนด์ในปริมาณที่ไม่สามารถประเมินได้ ทั้งจากอาหารหรือกระบวนการผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรมในปริมาณที่ความเข้มข้นสูงเป็นระยะเวลาสั้นๆ เป็นอันตรายต่อระบบสมองและหัวใจอาจถึงตายได้ในเวลาเพียงไม่กี่นาที โดยสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายช่องทาง เช่น ทางปาก ทางลมหายใจ และทางผิวสัมผัส
การวิเคราะห์หาปริมาณไซยาไนด์ในน้ำทิ้ง
สารประกอบไซยาไนด์อาจก่อให้เกิดก๊าซพิษ HCN ซึ่งเป็นพิษต่อระบบทางเดินหายใจ ผิวหนัง จึงแนะนำให้วิเคราะห์ในตู้ดูดควัน โดยมาตรฐานคุณภาพน้ำสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมก่อนที่จะปล่อยน้ำเสียสู่แม่น้ำ ลำคลองจะต้องกำจัดไซยาไนด์ให้เหลือน้อยที่สุดไม่เกิน 0.2 มิลลิกรัมต่อลิตร ดังนั้นการวิเคราะห์ทดสอบทางเคมี เพื่อวิเคราะห์หาไซยาไนด์ปริมาณน้อยๆ ให้ได้ผลถูกต้องและแม่นยำจึงมีความจำเป็นต้องทำตามวิธีมาตรฐาน Standard method for examination of water and wastewater, AWWA, APHA, 21st Ed, 2005. ด้วยเครื่องวัดการดูดกลืนแสง (Photometer) หรือการหาปริมาณไอออนไซยาไนด์ในน้ำด้วยเครื่องมือวัดปริมาณไอออนเฉพาะ (ISE Meter)
เครื่องมือที่จะช่วยทำให้การวัดค่าไซยาไนด์เป็นเรื่องที่ไม่ยุ่งยาก ประหยัดในเรื่องของงบประมาณเมื่อเทียบกับจะต้องส่งตรวจคุณภาพน้ำบ่อยครั้งก็ถือว่าคุ้มค่าไม่ใช่น้อย แต่อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์หาค่าไซยาไนด์ด้วยเครื่องวัดที่อาศัยเทคนิคการวัดปริมาณไอออนไซยาไนด์ในน้ำทิ้งก็ยังคงมีข้อจำกัดในเรื่องของสารรบกวนที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำทิ้ง ดังนี้
สารรบกวนการวัด |
ซิลเวอร์ |
ซัลไฟต์ |
|
ปรอท |
|
อัตราส่วนต่อ CN– < 1.0 ไอโอดีน |
|
อัตราส่วนต่อ CN < 500 โบรไมด์ |
|
อัตราส่วนต่อ CN < 500 คลอไรด์ |
|
อุณหภูมิ : ควบคุม 0 – 80 ˚C |
|
กรด-ด่าง (pH) : ควบคุม pH 11-14 |
เครื่องวัดค่าไซยาไนด์แบบวัดปริมาณไอออนรุ่น “HI5522” กับหัววัดรุ่น “HI4109” จะเหมาะสมกับการวัดไซยาไนด์ในช่วง 0.026–260 ppm ออกแบบมาให้ใช้งานในห้องปฏิบัติการ ขั้นตอนการทำงานง่ายเพียงแค่จุ่มวัดในน้ำที่ต้องการจะวัดค่าไซยาไนด์ ใช้งานง่าย และสะดวก แต่อาจจะยุ่งยากในเรื่องการสอบเทียบเครื่องมือก่อนการใช้งาน และเครื่องวัดการดูดกลืนแสงรุ่น “HI97714” จะเหมาะสมกับการวัดไซยาไนด์ในช่วง 0.000-0.200 ppm เท่านั้น ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ต้องมีเครื่องมือเพื่อใช้ในการดูแลบ่อบำบัดน้ำเสียของโรงงาน ควบคุมให้ค่าไซยาไนด์เหมาะสมตามมาตรฐานที่กำหนด
บริษัท ฮานนา อินสทรูเม้นท์ส (ประเทศไทย) จำกัด
ผู้ผลิตเครื่องมือวัดชั้นนำ
“เพราะเราเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ”
WITH GREAT PRODUCTS, COME GREAT RESULTS.
Email Addresses
info@hannathaicom
CONTACT US
Line : @hannathailand
FB : HannaThailand