คลอรีน | ส่งผลต่อการเลี้ยงปลาสวยงามอย่างไร ?

หลายคนกำลังมองหาสัตว์เลี้ยงที่เลี้ยงง่ายไม่ต้องคอยดูแลเอาใจใส่มากนักอย่างเช่นปลาสวยงาม นอกจากจะทำให้เราเพลิดเพลินใจที่ได้มองดูแล้ว ยังเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยทำให้เราสดชื่น สร้างชีวิตชีวาให้กับบ้านของเราอีกด้วย แต่ปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการเลี้ยงปลาสวยงามให้เจริญเติบโตแข็งแรงสมบูรณ์ได้นั้นต้องควบคุม“คุณภาพของน้ำเลี้ยง”ให้เหมาะสมเสียก่อน โดยเฉพาะหากใช้น้ำประปาในการเลี้ยงจะทำให้ปริมาณคลอรีนส่งผลกระทบต่อการอาศัยอยู่ของปลาเป็นอย่างมาก

ความเป็นอยู่ของปลามีความแตกต่างจากสัตว์ประเภทอื่นๆ มาก เนื่องจากสัตว์ประเภทอื่นๆ เราสามารถจัดการเกี่ยวกับการทำความสะอาดเศษอาหารและมูลสัตว์ได้อย่างง่ายมากกว่าปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำที่เปรียบเสมือนบ้าน รวมถึงอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อีกด้วย จึงทำให้คุณภาพของน้ำเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จากสภาพแวดล้อมและจากการขับถ่ายของสิ่งมีชีวิตในน้ำนั่นเอง แต่สำหรับแหล่งน้ำธรรมชาติจะเกิดการปรับสภาพให้น้ำมีคุณสมบัติที่เหมาะสม โดยขบวนการต่างๆ จากสิ่งมีชีวิต เพื่อให้สิ่งมีชีวิตในน้ำสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล

ปลาสวยงามที่ถูกนำมาเลี้ยงในตู้ปลาจะถูกเลี้ยงในพื้นที่จำกัด โดยไม่คำนึงถึงความสมดุลของระบบนิเวศ แต่จะเน้นแค่การมองดูสวยงามและมีน้ำใสอยู่เสมอ ทั้งที่คุณสมบัติต่างๆ อาจแตกต่างไปจากแหล่งน้ำตามธรรมชาติอย่างมาก จนทำให้ปลาแคระแกรน มองดูแล้วไม่สวยงามหรืออาจถึงตายในที่สุด แต่น้ำก็ยังคงมองดูใสสะอาด ดังนั้นผู้ที่มีความสนใจในการเลี้ยงปลาควรจะต้องดูแลเอาใจใส่ปรับสภาวะน้ำให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของปลา

ความสำคัญของน้ำต่อการดำรงชีวิตของปลา  
– เป็นแหล่งออกซิเจนที่ใช้ในการหายใจ สภาพน้ำที่ดีจะต้องมีปริมาณออกซิเจนในน้ำสูงจึงจะทำให้ปลามีสุขภาพที่ดี

– ส่งผลต่อการเจริญเติบโต น้ำที่มีคุณภาพที่ดีจะทำให้ปลาเจริญเติบโตดี แต่หากคุณภาพน้ำไม่ดีซึ่งเกิดการขยะหรือมูลของสัตว์ก็จะส่งผลทำให้ปลาแคระแกรนและตาย ถึงแม้จะมีอาหารให้กินดีก็ตาม        
– ส่งผลต่อการกินอาหารของปลา หากสภาพน้ำไม่เหมาะสมปลาจะกินอาหารน้อยลง การว่ายน้ำจะเชื่องช้า อ่อนแอและเกิดโรคง่าย
– ส่งผลต่อสีสันของปลา ทำให้ปลาสีซีดจางกว่าปกติ

การจัดการคุณภาพน้ำสำหรับปลาสวยงาม     

  1. น้ำต้องไม่มีคลอรีน โดยควรพักน้ำให้คลอรีนระเหยจนหมด หรืออาจใช้สารโซเดียมไรโอซัลเฟตหรือสารจับคลอรีนเพื่อเร่งให้คลอรีนหมดเร็วขึ้น โดยคลอรีนเป็นพิษสำหรับปลาและจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่อาศัยในระบบกรอง
  2. ควรเปิดเครื่องกรองน้ำให้ทำงานก่อนปล่อยปลาสวยงามลงตู้ เพื่อปรับสมดุลแก่จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในระบบ
  3. ควรล้างเครื่องกรองน้ำด้วยน้ำเลี้ยงปลาเดิม เพื่อรักษาจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในระบบไว้
  4. ควรมีการตรวจคุณภาพน้ำอยู่เป็นประจำ เช่น แอมโมเนีย ไนโตรท์ ค่าความเป็นกรด-ด่าง ความกระด้างหรือสารพิษในน้ำ ซึ่งเบื้องต้นอาจสังเกตุจากสีและกลิ่นของน้ำที่เปลี่ยนไป คลอรีนที่มีมากมาย เกินไปในน้ำนั้น จัดว่าเป็นภัยเงียบต่อปลาน้ำจืดอย่างแท้จริง และ เป็นสาเหตุของการตายของปลาสวยงามที่เลี้ยงกันไว้อย่างมากมายตั้งแต่ อดีต จนกระทั่งถึงปัจจุบัน

เนื่องจาก โดยปกติแล้ว น้ำประปานั้น จะมีการใส่สารที่มีชื่อว่า คลอรีน ที่มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรคต่างๆ เอาไว้ ซึ่งสารนี้จะมีความเป็นพิษ เหมือนกับไนไตรท์ โดยที่ คลอรีน หรือ คลอรามีน จะทำลายเหงือก และ ขัดขวางการส่งออกซิเจนภายในตัวของปลานั่นเอง ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า ปลาที่โดนพิษคลอรีนเข้าไปจะมีอาการเหมือนขาดอากาศหายใจนั่นเอง

 

การกำจัดคลอรีนที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ สามารถทำได้โดยการทิ้งน้ำที่กรองจากน้ำประปา พักน้ำโดยการตากแดดไว้ประมาณ 1 วัน คลอรีนก็จะค่อยๆ ระเหยออก หรือพักน้ำไว้ในร่มก็อาจจะต้องพักประมาณ 2 วัน ก็จะปลอดภัยจากคลอรีน โดยไม่ต้องใช้น้ำยาหรือสารเคมีเพื่อกำจัดคลอรีน

เมื่อสังเกตว่าคุณภาพของน้ำในตู้ปลาเริ่มเปลี่ยนไปจะต้องรีบเปลี่ยนน้ำทันที
แต่ต้องระวังอย่าเปลี่ยนบ่อยเกินไป แนะนำประมาณ 30-50% ของปริมาณทั้งหมด
เพื่อป้องกันเกิดอาการช็อกของปลา

            แต่เราจะทราบได้อย่างไรว่าในน้ำนั้นจะพบปริมาณคลอรีนหรือไม่ ? และปริมาณคลอรีนที่พบในน้ำจะส่งผลกระทบต่อปลาอย่างไร ตัวเครื่องวัดปริมาณคลอรีนแบบภาคสนาม รุ่น HI97711 สามารถทำให้เราสามารถประเมินปริมาณคลอรีนรวมและคลอรีนอิสระในน้ำได้ โดยรายงานค่าในหน่วยมิลลิกรัมต่อลิตร แสดงตัวเลขดิจิตอลที่บริเวณหน้าจอ ใช้งานง่าย และควรมีติดบ้านสำหรับผู้ที่มีความหลงใหลในการเลี้ยงปลาสวยงาม

 

(คลิกเพื่อดูสินเค้าเพิ่มเติม)

 

 บริษัท ฮานนา อินสทรูเม้นท์ส (ประเทศไทย) จำกัด

ผู้ผลิตเครื่องมือวัดชั้นนำ

“เพราะเราเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ”

WITH GREAT PRODUCTS, COME GREAT RESULTS.

 

Email Addresses

info@hannathaicom

 

CONTACT US

Line : @hannathailand

FB : HannaThailand