การทำสวนปาล์มน้ำมันให้ได้ผลผลิตสูงและต้นทุนต่ำจะต้องอาศัยเทคนิคและการดูแลเอาใจใส่หลายปัจจัยด้วยกัน นอกจากโรคและแมลงที่มารบกวนสวนปาล์มน้ำมันแล้วนั้น การปลูกปาล์มน้ำมันที่สภาวะดินไม่อุดมสมบูรณ์หรือได้รับธาตุอาหารในดินไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตก็จัดเป็นปัญหาที่สำคัญมากในการทำสวนปาล์มน้ำมัน ดังนั้นธาตุอาหารในดินที่เหมาะสมต่อการปลูกต้นปาล์มน้ำมันจึงเป็นปัจจัยหลักในการทำให้ได้ผลผลิตที่สูง
ปัจจุบันประเทศที่ผลิตและส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในโลก คือประเทศมาเลเซีย โดยผลิตเป็นสัดส่วนมากถึง 47% ของการผลิตระดับโลก สำหรับในประเทศไทยพบว่ามีการปลูกปาล์มน้ำมันทางภาคใต้และภาคตะวันออก โดยส่วนมากเป็นปาล์มน้ำมันที่ผสมกับเทเนอรา โดยเฉพาะในพื้นที่สามชายแดนภาคใต้
ชนิดของปาล์มน้ำมัน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
1. น้ำมันปาล์ม สกัดได้จากส่วนเปลือกสดของผลปาล์มน้ำมัน
2. น้ำมันเมล็ดในปาล์ม สกัดได้จากเมล็ดในของผลปาล์มน้ำมัน
ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจเกี่ยวกับ “ดิน” คือวัตถุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติจากการสลายตัวทางกายภาพและทางเคมีของดินและแร่ รวมถึงสารอินทรีย์ที่เกิดจากการสลายตัวของสิ่งมีชีวิต ดินทำให้รากพืชได้เกาะยึดเหนี่ยวเพื่อให้ลำต้นของพืชยืนต้นได้อย่างมั่นคงแข็งแรง เป็นแหล่งให้ธาตุอาหารเพื่อการเจริญเติบโตของพืช เป็นแหล่งที่กักเก็บน้ำ ความชื้น และเป็นแหล่งอากาศในดินที่รากพืชใช้ในการหายใจอีกด้วย ดินถูกแบ่งตามอนุภาคเป็น 3 ประเภทหลักๆ คือ ดินเหนียว ดินร่วน และดินทราย
10 เคล็ดลับในการดูแลสวนปาล์มน้ำมันให้ได้ผลผลิตสูง
– ให้น้ำในปริมาณที่เพียงพอ ในสภาพประเทศไทยที่มีปริมาณน้ำฝนน้อยกว่า 1800 มิลลิเมตร/ปี และฤดูแห้งที่ยาวนานประมาณ 5 เดือน ควรจะให้น้ำเสริมเพื่อเพิ่มผลผลิตทะลายให้สูงขึ้น โดยการติดตั้งระบบน้ำ
– แสงแดดที่เพียงพอ ปาล์มน้ำมันต้องการแสงแดดมากกว่า 5 ชั่วโมง/วัน หากได้รับในปริมาณแสงน้อยจะทำให้ผลผลิตปาล์มน้อยลงและส่งผลมากต่อต้นปาล์มที่มีอายุมากกว่า 10 ปี
– การใส่ปุ๋ย เนื่องจากผลผลิตคือปาล์มน้ำมัน จึงทำให้การสังเคราะห์แสงสูงกว่าพวกแป้งและโปรตีน ดังนั้นจึงต้องการธาตุอาหารในปริมาณสูง
– การตัดแต่งทางใบ การตัดแต่งใบปาล์มที่ตายหรือเป็นโรค เพื่อให้ใบอื่นๆได้รับแสงในปริมาณที่เพียงพอ
– วางกองทางใบ โดยการนำใบมาทับถามกันให้สูงประมาณ 50 เซนติเมตร เพื่อรักษาความชื้นและลดการระเหยของน้ำ ทำให้ความชื้นในดินอยู่นานส่งผลให้รากมีชีวิตชีวาอยู่ได้นานขึ้น
– หักช่อดอกปาล์มน้ำมัน การตัดแต่งช่อดอกปาล์มเพื่อให้สารอาหารต่างๆ เลี้ยงต้นปาล์มได้อย่างเต็มที่
– กำจัดศัตรูปาล์มน้ำมันอย่างถูกวิธี ส่งผลต่อผลผลิตของน้ำมันจากต้นปาล์ม
– เฝ้าระวังและกำจัดโรคปาล์มต่างๆ ส่งผลต่อผลผลิตของน้ำมันจากต้นปาล์ม
– เก็บเกี่ยวทะลายปาล์มน้ำมันอย่างถูกวิธี การเก็บเกี่ยวทะลายปาล์มสดเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากจะต้องเลือกเก็บที่สุกพอดี เพราะผลผลิตน้ำมันในปริมาณสูงและคุณภาพที่ดีขึ้นอยู่กับขั้นตอนนี้
ธาตุอาหารในดินที่ปาล์มน้ำมันต้องการ
– ธาตุทองแดง สำหรับในพืช ถือเป็นธาตุที่พืชต้องการในปริมาณที่น้อยแต่ขาดไม่ได้ ช่วยในการสร้างคลอโรฟิลล์สำหรับการสังเคราะห์แสง และเป็นองค์ประกอบของเอ็นไซม์ที่สำคัญบางชนิด
หากต้นปาล์มขาดธาตุทองแดงจะทำให้ติดเชื้อโรคโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อกาโนเดอร์มา
ปาล์มน้ำมัน ที่ปลูกในดินพรุและดินทรายล้วน ส่วนใหญ่จะขาดธาตุทองแดง โดยอาการที่บ่งบอกคือใบอ่อนจะเริ่มมีสีขาว-เหลืองซีด มีจุดสีเหลืองหรือน้ำตาลบนใบ ถ้าอาการรุนแรงมาก ใบจะหยุดการเติบโตและขอบใบแห้ง จึงควรใส่ธาตุทองแดง เพื่อเสริมธาตุทองแดงให้แก่ต้นปาล์มน้ำมัน
– ธาตุโบรอน ธาตุอาหารในดินที่มีความจำเป็น ช่วยในการแบ่งเซลล์และขยายขนาด การพัฒนาของราก การเคลื่อนย้ายคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาล ช่วยในการงอกของละอองเกสรจึงมีผลต่อการผสมพันธุ์ และการพัฒนาของผลปาล์มน้ำมัน รวมถึงยังช่วยเพิ่มปริมาณ/คุณภาพของผลผลิตปาล์มน้ำมันทำให้มีการดูดซับธาตุแคลเซียมได้ดีขึ้น
โบรอนที่ใช้เป็นปุ๋ยสำหรับพืช มีได้หลายรูปแบบ เช่น กรดบอริก โซเดียมบอเรต แคลเซียมบอเรต โบรอนเคลื่อนที่ในพืชผ่านทางท่อน้ำ การเคลื่อนย้ายธาตุโบรอนจึงเป็นไปตามอัตราการคายน้ำของใบ
ปาล์มน้ำมันที่ขาดโบรอนปลายใบจะหักเป็นรูปตะขอ หงิก และขาด หากแสดงอาการแสดงว่าต้นปาล์มน้ำมันต้องการโบรอนชัดเจน จึงควรใส่โบรอนทุกปีโดยเฉพาะเมื่อใบแสดงอาการขาดโดยใส่ผสมกับปุ๋ยอื่นๆ
– ธาตุโพแทสเซียม ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ การสร้างแป้ง ลำเลียงสารอาหารและปรับสมดุลกรด-ด่าง หากขาดจะพบว่าใบจุมีจุดสีส้มกระจายทั่วเต็มใบ
– ธาตุแมกนีเซียม ช่วยในการเพิ่มผลผลิตของน้ำมันปาล์ม เนื่องจากการสร้างกรดไขมันต้องการแมกนีเซียมสูง หากขาดจะทำให้ผลผลิตน้ำมันน้อยลง ใบย่อยของใบล่างจะมีสีเหลืองแถบยาว แต่เส้นใบยังคงเป็นสีเขียวอยู่
– ธาตุฟอสฟอรัส ช่วยให้รากพืชแข็งแรงส่งผลให้การเจริญเติบโตสมบูรณ์ หากขาดจะพบว่าลำต้นจะแคระแกรน
– ธาตุไนโตรเจน ช่วยสร้างการเจริญเติบโตของต้นปาล์ม โตเร็ว ต้นใหญ่ ทะลายเยอะมากขึ้น หากขาดต้นจะเล็กทรงพุ่ม เป็นสีเหลืองซีด ใบไม่เขียวเข้ม และจะค่อยๆเป็นสีเหลืองทั้งต้น
– ธาตุสังกะสี ช่วยสังเคราะห์คารโบไฮเดรตและโปรตีน ช่วยในการพัฒนาละอองเกสร และสร้างฮอร์โมนออกซิน ซึ่งเป็นตัวควบคุมการเติบโตและขยายลำต้น หากขาดจะกระทบต่อผลผลิตน้ำมัน
เครื่องมือที่จะสามารถช่วยหาปริมาณธาตุอาหารในดินของปาล์มน้ำมันเพื่อควบคุมให้เหมาะสมจะต้องให้ผลการวิเคราะห์ที่ถูกต้องแม่นยำ พร้อมกับรองรับมาตรฐานสากล เราจึงขอนำเสนอเครื่องวัด
ปริมาณธาตุอาหารในดินของฮานนา รุ่น HI83325 คือเครื่องมือตรวจสอบและวิเคราะห์หาปริมาณธาตุอาหารที่มีความจำเป็นในดิน แบบหลากหลายพารามิเตอร์ให้เลือกในเครื่องตัวเดียว
โดยค่ามาตรฐานในการใส่โบรอนแก่ต้นปาล์มน้ำมัน คือ ปริมาณ 50-100 กรัม/ต้น/ปี หรือเพิ่มเป็น 100-200 กรัม/ต้น/ปี ในกรณีที่ต้นปาล์มน้ำมันแสดงอาการขาดโบรอนอย่างรุนแรง (ควรมีการวิเคราะห์ใบเพื่อตรวจสอบปริมาณโบรอนในพืชว่าพอเพียงหรือไม่)
แต่จะทราบได้อย่างไรว่าจะมะมีธาตุอาหารในดิน ที่ปาล์มน้ำมันต้องการต้องมีสิ่งนี้ เครื่องวัดปริมาณธาตุอาหารในดิน วัดpH และค่า EC คือเครื่องมือตรวจสอบและวิเคราะห์หาปริมาณธาตุอาหารในดิน
บริษัท ฮานนา อินสทรูเม้นท์ส (ประเทศไทย) จำกัด
ผู้ผลิตเครื่องมือวัดชั้นนำ
“เพราะเราเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ”
WITH GREAT PRODUCTS, COME GREAT RESULTS.
Email Addresses
info@hannathaicom
CONTACT US
Line : @hannathailand
FB : HannaThailand