“คลอรีน” เป็นสารอนินทรีย์ในกลุ่มแฮโลเจน จัดเป็นสารเคมีที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสามารถทำลายเชื้อโรคได้มากกว่า 90% มักนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมอาหารเพื่อลดปริมาณจุลินทรีย์ และการตรวจสอบคุณภาพของน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลรักษาความสะอาดในสระว่ายน้ำ งานบำบัดน้ำก่อนปล่อย โดยการใช้คลอรีนในปริมาณที่เหมาะสมจะทำให้น้ำปราศจากสิ่งสกปรกได้ เมื่อคลอรีนถูกเติมลงในสระว่ายน้ำจะเกิดการแตกตัวเป็นไอออน เช่น ไอออนไฮโปคลอไรท์และกรดไฮโปคลอรัส ซึ่งทั้งคู่มีผลต่อการฆ่าแบคทีเรียและจุลินทรีย์ต่างๆ ดังนั้นเราควรรู้ข้อแตกต่างของคลอรีนอิสระคลอรีนรวมและคลอรีนทั้งหมด
คลอรีนอิสระ (Free Chlorine)
ปริมาณคลอรีนที่ยังไม่รวมตัวกับน้ำเพื่อฆ่าเชื้อโรคหรือสิ่งปนเปื้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหมายความว่าสามารถกำจัดแบคทีเรียที่เป็นอันตรายในน้ำสระว่ายน้ำได้ คลอรีนอิสระมีความสำคัญอย่างยิ่งในการฆ่าเชื้อโรคในสระว่ายน้ำ หากมีคลอรีนอิสระในน้ำไม่เพียงพอก็จะไม่สามารถกำจัดแบคทีเรียและสารปนเปื้อนอื่นๆ ที่ก่อตัวขึ้นได้
เมื่อวัดคลอรีนอิสระในสระว่ายน้ำ ควรต้องควบคุมให้อยู่ในช่วง 2-4 mg/L คลอรีนอิสระจะแตกต่างจากคลอรีนประเภทอื่นๆ อย่างมาก เนื่องจากคลอรีนประเภทอื่นๆ ไม่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้นั่นเอง
คลอรีนรวม (Combined Chlorine)
คือคลอรีนอีกชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในขณะที่สระว่ายน้ำได้รับการฆ่าเชื้อเรียบร้อยแล้ว ในระหว่างกระบวนการนี้คลอรีนจะเกิดการจับกับสารปนเปื้อนอื่นๆ ในน้ำ เช่น แอมโมเนียหรือสารอินทรีย์อื่นๆ เกิดเป็นคลอรีนรวม เมื่อวัดน้ำในสระว่ายน้ำปริมาณคลอรีนรวมควรน้อยกว่า 0.5 mg/L
การพบปริมาณคลอรีนรวมในสระว่ายน้ำ นั่นหมายความว่าคลอรีนอิสระกำลังกำจัดสารปนเปื้อนในน้ำนั้น สระว่ายน้ำที่สะอาดและผ่านกระบวนการฆ่าเชื้ออย่างสมบูรณ์จะพบปริมาณคลอรีนรวมเป็นศูนย์ หากมีการเติมปริมาณคลอรีนอิสระในสระว่ายน้ำในปริมาณที่เหมาะสมตลอดเวลา
คลอรีนทั้งหมด (Total Chlorine)
ผลรวมของคลอรีนรวมและคลอรีนอิสระในน้ำสะอาดสามารถใช้ประมาณคลอรีนทั้งหมดเพื่อกำหนดปริมาณคลอรีนอิสระในน้ำได้เนื่องจากคลอรีนรวมควรจะเป็นศูนย์
ประเภทของคลอรีน
คลอรีนแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้
1. คลอรีนชนิดก๊าซ (Chlorine Gas) นิยมใช้กันมากในกระบวนการผลิตน้ำประปา
2. คลอรีนชนิดน้ำ (Chlorine Liquid) นิยมใช้กันมากสำหรับการฆ่าเชื้อโรคในลักษณะต่างๆ ผลิตภัณฑ์ที่นิยมใช้คือ โซเดียมไฮโปคลอไรต์ (NaClO) เป็นสารละลายสีเขียวอมเหลืองมีคลอรีนประมาณ 7-15 %
3. คลอรีนชนิดของแข็ง เป็นคลอรีนในลักษณะผง เช่น แคลเซียมไฮโปคลอไรต์ โซเดียม
ไดคลอโรไอโซไซยานูเรต (NaDCC หรือ SDIC) และไตรคลอโรไอโซไซยานูริก แอซิด (TCCA)
การออกฤทธิ์ของคลอรีน
คลอรีนมีคุณสมบัติเป็นตัวออกซิไดส์ที่รุนแรง เมื่อละลายน้ำจะเกิดปฏิกิริยากับน้ำ จะเกิดเป็นสารไฮโปคลอไรท์ (ClO-) และกรดไฮโปคลอรัส (HOCl) โดยกรดไฮโปคลอรัสจะออกฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อที่รุนแรงกว่าไฮโปคลอไรท์ประมาณ 80-200 เท่า
– ทำลายเชื้อจุลินทรีย์ รวมทั้งสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในน้ำ
– ใช้เป็นสารฟอกสี เกิดการทำลายสารอินทรีย์ที่ทำให้เกิดสี
– ช่วยตกตะกอน
ประโยชน์ของคลอรีนที่ใช้ในอุตสาหกรรม
– คลอรีนถือว่าเป็นสารที่มีความปลอดภัยสูง เพราะสามารถฆ่าเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้น้ำใสสะอาดปลอดเชื้อ และสามารถสลายตัวได้ในเวลาอันรวดเร็ว แต่ต้องใส่ในปริมาณที่เหมาะสม – หากใช้ในปริมาณที่มากเกินอัตราส่วนที่กำหนด อาจเป็นอันตรายต่ออวัยวะของร่างกายได้ เช่น ตา จมูก ผิวหนัง เมื่อสัมผัสกับคลอรีนจะอักเสบและบวมพอง ถ้าสูดดมเข้าไปจะทำให้เกิดอาการอึดอัด หายใจไม่สะดวก เจ็บคอ แน่นหน้าอก และหากได้รับในปริมาณมากเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้
– ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตกระดาษ ทำยาฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ทำสีผสมอาหาร ยาฆ่าแมลง สี ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม พลาสติก เวชภัณฑ์ อุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นต้น
– ในทางเคมีอินทรีย์ ใช้ธาตุนี้ในปฏิกิริยาออกซิเดชันและปฏิกิริยาแทนที่ เมื่อเข้าไปแทนที่ไฮโดรเจนจะได้ผลิตภัณฑ์ยางสังเคราะห์
– ใช้ในการผลิตคลอเรต เช่น คลอโรฟอร์ม คาร์บอน เตตระคลอไรด์ และใช้ในการสกัดโบรมีน
เครื่องมือตรวจสอบและวิเคราะห์หาปริมาณของคลอรีน เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีเพื่อเป็นตัวช่วยในการควบคุมคุณภาพของน้ำให้เป็นไปตามที่กำหนด สำหรับหน่วยการวัดคลอรีนนิยมอ่านค่าในหน่วยมิลลิกรัมต่อลิตร (mg/L) หรือ ppm การตรวจหาปริมาณค่าคลอรีนสามารถหาได้ทั้งในรูปคลอรีนอิสระและคลอรีนรวม ขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมนั้นๆ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจว่าคลอรีนทำงานอย่างไรและในทางเคมีแตกต่างกันอย่างไร
บริษัท ฮานนา อินสทรูเม้นท์ส (ประเทศไทย) จำกัด
ผู้ผลิตเครื่องมือวัดชั้นนำ
“เพราะเราเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ”
WITH GREAT PRODUCTS, COME GREAT RESULTS.
Email Addresses
info@hannathaicom
CONTACT US
Line : @hannathailand
FB : HannaThailand