อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
คือ การนำผลผลิตทางการเกษตรหรือทรัพยากรธรรมชาติมาแปรรูปเพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มนั้นช่วยสร้างรายได้ให้ประเทศไทยอย่างมหาศาลในแต่ละปี เพราะความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ จึงทำให้เรามีวัตถุดิบต้นทางในการผลิตอาหารและเครื่องดื่มได้แบบต้นทางไปจนถึงปลายทาง สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในด้านต้นทุนให้กับผู้ประกอบการในประเทศเป็นอย่างมาก
ศักยภาพของอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทยสูงในการผลิตเพื่อบริโภคในประเทศและเพื่อการส่งออก เนื่องจากประเทศไทยมีพื้นฐานด้านการผลิตทางการเกษตรที่มั่นคงและต่อเนื่อง มีแรงงานที่มีคุณภาพจำนวนมาก รวมถึงการใช้เทคโนโลยีในการผลิตที่ทันสมัย มีการพัฒนารูปแบบของสินค้าที่ตรงตามความต้องการของตลาดมากขึ้น และที่สำคัญสามารถผลิตสินค้าได้อย่างรวดเร็วตามที่ลูกค้าต้องการ ดังนั้นจึงทำให้อุตสาหกรรมอาหารเป็นอุตสาหกรรมลำดับแรกที่ได้รับการสนับสนุนมาตั้งแต่ประเทศไทยใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ในปี พ.ศ. 2504 เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เงินลงทุนน้อยใช้วัตถุดิบภายในประเทศมาแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่า
แต่อย่างไรก็ตาม “น้ำ” เป็นปัจจัยหลักที่สำคัญมากในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เพราะในทุกขั้นตอนการผลิตสินค้าล้วนแต่ต้องใช้น้ำในกระบวนการผลิตทั้งนั้น ดังนั้น “คุณภาพของน้ำ” จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่ต้องดูแลเอาใจใส่
ความสำคัญของการตรวจวัดค่า pH ในการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม
ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มเมื่อเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมประเภทอื่นๆ จะพบว่ามีความแตกต่างอย่างเด่นชัดในส่วนของวัตถุดิบและคุณภาพของอาหาร ด้วยเหตุนี้ทางมาตรฐานด้านความปลอดภัยของอุตสาหกรรมอาหาร จึงเข้มงวดในทุกขั้นตอนตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบ การแปรรูป การเก็บรักษา การกระจายสินค้า จนถึงมือของผู้บริโภค เช่น GAP, GMP และ HACCP เป็นต้น โดยการดำเนินการจะถูกควบคุมด้วยหน่วยงานจากกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กระทรวงสาธารณสุข ฯลฯ
การควบคุมคุณภาพของสินค้าในกระบวนการผลิตจำนวนมากให้ผลงานออกมาคุณภาพเท่ากันนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และอย่างที่ทราบกันว่า น้ำเป็นส่วนหนึ่งในแทบทุกขั้นตอนการผลิต ดังนั้นถ้าเราสามารถควบคุมคุณภาพของน้ำได้ก็ไม่ต่างจากการควบคุมคุณภาพของสินค้าได้นั่นเอง ซึ่งการวัดค่า pH สำหรับในกระบวนการผลิตถือว่าเป็นสิ่งที่ทุกโรงงานจะต้องวัดและให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ
มาตรฐานของอุตสาหกรรมอาหารที่มีข้อกำหนดต่างๆ |
|
GMP | สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) : หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต |
HACCP | สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) :ระบบการจัดการคุณภาพด้านความปลอดภัย |
Thailand Best | โครงการไทยแลนด์ เบสท์ : เกิดขึ้นเนื่องจากวิกฤตสถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทยในปี 2540 (ระดับโลก) |
Halal Food | มาตรฐานอาหารฮาลาล |
ประโยชน์ของการตรวจวัดค่า pH ในการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม
ปัจจัยที่สำคัญในการควบคุมกระบวนการผลิตให้คงมาตรฐานคือการควบคุมค่า pH ซึ่งสามารถบอกอะไรได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นวันหมดอายุของผลิตภัณฑ์ รสชาติของอาหาร และอื่นๆ อีกมากมาย จึงทำให้การวัดค่า pH กลายเป็นหนึ่งในมาตรฐานที่สำคัญในกระบวนการผลิตขึ้นอยู่กับประเภทของอาหารนั้นๆ
เครื่องวัดค่า pH แบบตั้งโต๊ะ เหมาะใช้งานในห้องแลปสำหรับทุกโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร
ปัจจุบันมีเครื่องมือวัดค่า pH จำหน่ายมากมายให้ได้เลือกใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือวัด pH แบบพกพาสะดวก เน้นใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน และราคาไม่สูง แบบภาคสนาม เน้นใช้งานฟังก์ชันที่ซับซ้อนมากขึ้น ราคาก็จะสูงขึ้นมา หรือแบบตั้งโต๊ะที่เหมาะสำหรับใช้งานในห้องปฏิบัติการเพราะมีความแม่นยำสูง ให้ผลลัพธ์ที่รวดเร็วและน่าเชื่อถือได้ รวมถึงมีฟังก์ชันการทำงานที่ครอบคลุมการใช้งาน เช่น การสอบเทียบมากถึง 5 จุด การเก็บข้อมูลการวัด การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เพื่อเก็บผลรายงาน ทางเราขอแนะนำเครื่องวัดค่า pH รุ่น HI5XXX-02 Series การใช้งานที่เหมาะสมสามารถเลือกได้ด้วยตัวของคุณ
บริษัท ฮานนา อินสทรูเม้นท์ส (ประเทศไทย) จำกัด
ผู้ผลิตเครื่องมือวัดชั้นนำ
“เพราะเราเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ”
WITH GREAT PRODUCTS, COME GREAT RESULTS.
Email Addresses
shop@hannathaicom
CONTACT US
Line : @hannathailand
FB : HannaThailand