ค่า pH | สิ่งที่ต้องรู้ในระบบการบำบัดน้ำเสีย

ระบบบำบัดน้ำเสียในทุกโรงงานอุตสาหกรรม   
น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมเป็นน้ำเสียที่มีสิ่งสกปรกและสารปนเปื้อนในปริมาณที่มากกว่าน้ำเสียจากแหล่งชุมชน สิ่งสกปรกและสารปนเปื้อนก็จะแตกต่างกันตามประเภทของธุรกิจของโรงงานอุตสาหกรรมนั้นๆ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดน้ำเน่าเสียนั่นเอง และหากยังไม่ได้รับการบำบัดแล้วปล่อยสู่ธรรมชาติก็จะก่อให้เกิดผลกระทบมลพิษทางน้ำอย่างร้ายแรง รวมถึงผิดกฎของกรมควบคุมมลพิษอีกด้วย ดังนั้นทุกโรงงานอุตสาหกรรมจึงควรมีระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อช่วยลดมลพิษทางน้ำและอากาศ 

ปัจจุบันประเทศไทยพบว่ามีน้ำเสียประมาณ 9.5 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน จากการประเมินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ พบว่าสามารถกำจัดน้ำเสียได้เพียงวันละ 3 ลูกบาศก์เมตรต่อวันเท่านั้น ส่วนที่เหลือยังไม่มีระบบกำจัดน้ำเสียรองรับ แต่ในบางส่วนธรรมชาติจะช่วยบำบัดกันเอง และบางส่วนมีระบบบำบัดน้ำเสียติดตั้งอยู่ในอาคารอยู่แล้ว แต่ถึงอย่างไรก็ยังคงไม่เพียงพอ

การบำบัดน้ำเสีย เป็นระบบที่ช่วยลดปริมาณของเสียที่อยู่ในสภาพของเหลวให้น้อยลงหรือไม่ก่อให้เกิดปัญหาทางมลพิษทางสิ่งแวดล้อม การกำจัดสิ่งปนเปื้อนในน้ำที่เกิดจากกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม หรือเกิดจากกิจวัตรประจำวันของประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนใกล้เคียงให้หมดไป โดยเป็นน้ำที่ผ่านจากการนำไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ ซึ่งน้ำเสียเหล่านี้จะต้องได้รับการบำบัดก่อนที่จะสามารถปล่อยสู่แหล่งน้ำตามธรรมชาติได้ โดยจะต้องทำตามข้อกำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งที่ได้กำหนดไว้

พารามิเตอร์สำคัญที่จะต้องควบคุมในระบบบำบัดน้ำเสีย ก็คือ pH และ ORP     
            pH เป็นหนึ่งในพารามิเตอร์ที่มีความสำคัญในการตรวจวัดของระบบบำบัดน้ำเสีย และกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม โดยค่า pH เป็นตัวบ่งชี้ถึงปริมาณของสิ่งมีชีวิตหรือจุลินทรีย์ในน้ำเสียพบว่าจะสามารถดำรงชีวิตได้ดีในสภาวะของค่า pH 6-8 หากพบต่ำกว่าหรือสูงกว่าจะทำให้ไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ ดังนั้นจึงต้องมีการตรวจวัดแบบต่อเนื่อง และยังสามารถตรวจสอบถึงความสึกกร่อน ซึ่งสร้างความเสียหายให้แก่ระบบได้อีกด้วย

         ORP อีกพารามิเตอร์ที่มักจะใช้ในการตรวจสอบสำหรับกระบวนการบำบัดน้ำเสีย ซึ่งเป็นการตรวจวัดเพื่อหาค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าในหน่วยมิลลิโวลย์ และแสดงถึงระดับความสามารถในการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันและรีดักชัน เช่น ค่า ORP จะน้อยลงเมื่อไนเตรตถูกเปลี่ยนเป็นแอมโมเนีย และยังสามารถบอกถึงปริมาณแบคทีเรีย ซึ่งช่วยในการควบคุมการบำบัดน้ำเสียในสภาวะไม่มีออกซิเจนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

ค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม   

พารามิเตอร์ที่ต้องควบคุม

ค่ามาตรฐาน

1. กรด-ด่าง (pH) 5.5 – 9.0
2. อุณหภูมิ < 40 ˚C
3. สี < 300 ADMI
4. ของแข็งที่ละลายในน้ำทั้งหมด (TDS) ระบายลงแหล่งน้ำ < 3000 ppm
สำหรับบางอุตสาหกรรมที่มีการระบายลงแหล่งน้ำ > 3000 ppm จะอนุโลมให้ไม่เกิน 5000 ppm
5. ซีโอดี < 120 ppm

 

ข้อดีจากการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม

– ช่วยลดปัญหาน้ำท่วม เนื่องจากน้ำเสียมักมีขยะเข้าไปเจือปนและอุดตันท่อระบายน้ำ ทำให้ไม่สามารถระบายน้ำได้ทันท่วงทีในวันที่ฝนตกหนัก จนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วม ซึ่งการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานจะเป็นการกำจัดสิ่งปฏิกูลที่ปะปนไปกับน้ำ ทำให้ไม่มีขยะไปอุดตันท่อระบายน้ำอีกด้วย คุณภาพของน้ำบริเวณนั้นก็จะดีขึ้น 
– ช่วยลดการใช้ทรัพยากรโดยนำน้ำที่บำบัดแล้วนำกลับมาใช้ประโยชน์      
– คุณภาพของแหล่งน้ำดีขึ้น จึงไม่ส่งผลกระทบต่อมลพิษทางอากาศ      
– ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยว เช่น สถานที่ท่องเที่ยวทางน้ำ

ดังนั้นเมื่อโรงงานอุตสาหกรรมได้ทราบถึงคุณประโยชน์ของการบำบัดน้ำเสียและอยากให้ระบบบำบัดน้ำมีประสิทธิภาพเราจึงขอแนะนำเครื่องมือวิเคราะหคุณภาพน้ำเสียของ Hanna Instruments ช่วยในการตอบโจทย์การบำบัดน้ำเสียด้วยเครื่องวัดค่ากรด-ด่าง/โออาร์พี รุ่น HI98190 (pH/ORP) ในเครื่องเดียวกัน

(คลิกเพื่อดูสินเค้าเพิ่มเติม)

 

บริษัท ฮานนา อินสทรูเม้นท์ส (ประเทศไทย) จำกัด

ผู้ผลิตเครื่องมือวัดชั้นนำ

“เพราะเราเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ”

WITH GREAT PRODUCTS, COME GREAT RESULTS.

 

Email Addresses

info@hannathaicom

 

CONTACT US

Line : @hannathailand

FB : HannaThailand