ทำความรู้จัก | ภาษีความหวาน

พฤติกรรมการรับประทานอาหารเป็นตัวบ่งบอกสุขอนามัยของร่างกาย ในประเทศไทยรสชาติของอาหารที่นิยมทาน คือรสหวานจัด เค็มจัด หรือมันจัด ซึ่งเป็นอาหารยอดนิยมของคนไทยเพราะทำให้เกิดความอร่อยและถูกปาก แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ได้แค่เพียงน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น แต่ยังเป็นต้นเหตุของโรคภัยไข้เจ็บที่ตามมาที่ทำให้สุขภาพแย่ลงเรื่อยๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ พร้อมกับค่าใช้จ่ายในการรักษาตัวที่สูงมากอีกด้วย

“น้ำตาลเป็นเครื่องปรุงแต่งรสที่ให้ความหวาน หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินพอก็จะส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริโภค”

อาหารที่ขึ้นชื่อว่ามีส่วนผสมของน้ำตาลมักจะมีรสชาติอร่อย แต่แฝงไปด้วยอันตรายกว่าที่คิด ในชีวิตประจำวันปริมาณน้ำตาลที่ได้จากข้าว ขนมปังหรือส่วนประกอบของเครื่องปรุงก็เพียงพอแล้ว แต่เราก็ยังคงเพิ่มความหวานให้กับร่างกายอีกโดยเฉพาะเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูง เช่น ชานมไข่มุก กาแฟเย็น น้ำอัดลม เบเกอรี่ เป็นต้น จึงทำให้คนไทยส่วนมากเกิดโรคภัยจากการบริโภคน้ำตาลมากเกินไป

หลายประเทศพยายามหาวิธีการแก้ไขปัญหาการบริโภคน้ำตาลที่มากเกินไป โดยหนึ่งในประเทศที่ประสบความสำเร็จในการนำกฎหมายมาช่วยในการแก้ปัญหา คือสหราชอาณาจักร โดยทำการเก็บ “ภาษีความหวาน” และเมื่อพิจารณาข้อมูลในทางสถิติพบว่าการจัดเก็บภาษีความหวานโดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องดื่มทำให้การบริโภคน้ำอัดลมลดลงเกือบ 6,500 แคลอรี่ต่อผู้บริโภคหนึ่งคนต่อปี

ภาษีความหวาน

กรมสรรพสามิตได้ริเริ่มการจัดเก็บภาษีความหวานในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลตั้งแต่ปี 2559 ในอัตราที่เพิ่มขึ้นแบบขั้นบันไดทุกๆ 2 ปี โดยระยะที่ 2 เริ่มใช้ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2564 และประกาศใช้ในระยะที่ 3 ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2567

ปริมาณน้ำตาล (กรัม/100 มล.)

อัตราภาษี (บาท/ลิตร)

6-8

0.3

8-10

1.0

10-14

3.0

14-18

5.0

ฉลาก GDA (ฉลากหวาน มัน เค็ม) ที่ควรรู้เพื่อสุขภาพ

ฉลากโภชนาการ GDA (ฉลากหวาน มัน เค็ม) ที่ควรรู้เพื่อสุขภาพที่ดี เป็นฉลากที่บังคับให้แสดงบนบรรจุภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที เช่น ขนมขบเคี้ยว ช็อกโกแลต ขนมอบ อาหารกึ่งสำเร็จรูป และอาหารแช่เย็นหรือแช่แข็ง โดยแสดงรายละเอียดข้อมูลค่าพลังงาน (กิโลแคลอรี่) น้ำตาล (กรัม) ไขมัน (กรัม) และโซเดียม (มิลลิกรัม) ของอาหารทั้งหมดที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์นั้นๆ (เช่น ซอง ถุง กล่อง ฯลฯ) โดยอยู่ด้านหน้าของบรรจุภัณฑ์ ดังนั้นจึงทำให้เราสามารถใช้ข้อมูลจากฉลากโภชนาการในการช่วยควบคุมระดับความหวาน ความมันและความเค็มเบื้องต้นได้ เพื่อเลือกสรรอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการให้เหมาะสมกับร่างกายของแต่ละคน

ทำไมรัฐบาลถึงต้องเก็บภาษีความหวาน ?

สำหรับการเก็บภาษีความหวานของรัฐบาลจัดทำเพื่อที่จะช่วยลดการซื้อสินค้าดังกล่าวให้น้อยลง ซึ่งการจัดเก็บภาษีจะเน้นสินค้าในกลุ่มที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายและสังคม เช่น ภาษีเหล้าและบุหรี่ ซึ่งจัดเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย จากการเก็บข้อมูลพบว่าเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลในประเทศไทยมีค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำตาลผสมอยู่ค่อนข้างสูงในช่วง 9-14 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร โดยจะต้องควบคุมให้ไม่เกินในช่วง 6 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร ตามมาตรฐานกรมอนามัยโลก เพราะหากบริโภคเกินจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน โรคอ้วน หรือโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา ทำให้ในปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มตระหนักถึงการควบคุมค่าปริมาณน้ำตาลในผลิตภัณฑ์มากยิ่งขึ้น จึงทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาดมากมาย ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ลดปริมาณน้ำตาล หรือใช้สารทดแทนความหวานในกระบวนการผลิตแทน เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้บริโภคและส่งผลดีต่อผู้ผลิตและสังคม

ผลกระทบจากการบริโภคน้ำตาลเกินความต้องการของร่างกาย          
   – ไขมันสะสมตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย       
   – กระดูกและฟันไม่แข็งแรง     
   – ความดันเลือดเพิ่มสูงขึ้น     
   – เกิดภาวะเครียด

   – เป็นสาเหตุของโรคร้ายต่างๆ           
   – เกิดภาวะแก่เร็ว       
   – เกิดอาการง่วงนอน

น้ำตาลจัดเป็นอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่ไม่มีเส้นใยอาหาร โดยน้ำตาล 1 กรัมจะให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี่ และใน 1 วันเราไม่ควรบริโภคเกิน 4 ช้อนชา ดังนั้นใน 1 วันการรับประทานอาหารประเภทข้าวหรือขนมปังก็เพียงพอแล้ว เนื่องจากกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมจะต้องควบคุมปริมาณน้ำตาลในกระบวนการผลิต  

Hanna จึงขอแนะนำเครื่องวัดค่าความหวาน (Refractometer) รุ่น HI9680X Series สำหรับน้ำตาลซูโครส/ฟรักโทส/กลูโคส/น้ำตาลอินเวิร์ต ภายใต้แบรนด์ฮานนา ตัวเครื่องใช้งานง่าย พกพาสะดวก ขนาดกะทัดรัด และใช้ปริมาณตัวอย่างเพียงแค่ 100 µL พร้อมกับรายงานค่าในหน่วย % Brix

บริษัท ฮานนา อินสทรูเม้นท์ส (ประเทศไทย) จำกัด

ผู้ผลิตเครื่องมือวัดชั้นนำ

“เพราะเราเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ”

WITH GREAT PRODUCTS, COME GREAT RESULTS.

 

Email Addresses

info@hannathaicom

 

CONTACT US

Line : @hannathailand

FB : HannaThailand