ความเค็มในน้ำทะเล
ความเค็ม (Salinity) คือปริมาณของเกลือที่ละลายในน้ำ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่าน้ำเกลือ โดยน้ำเกลือที่เกิดจากแหล่งธรรมชาติคือ “น้ำทะเล” ซึ่งปัจจัยสำคัญของลักษณะทางเคมีในน้ำทะเลเกิดจากกระบวนการชีวภาพ และตัวแปรอื่นๆ ที่ควบคู่ไปกับอุณหภูมิและความดัน จึงทำให้ลักษณะทางกายภาพเปลี่ยนแปลงไปตามความหนาแน่นและความร้อนของน้ำ เกิดเป็นความเข้มข้นของเกลือที่ละลายในน้ำ นั่นคือ “ความเค็มในน้ำทะเล” การวัดค่าความเค็มในน้ำทะเลจะนิยมรายงานค่าในหน่วย ppt หรือ %
น้ำทะเล เกิดจากเกลือและแร่ธาตุต่างๆ ที่ละลายอยู่ในน้ำ เช่น ไบคาร์บอเนต แคลเซียม โพแทสเซียม โซเดียม โบรไมด์ ซัลเฟต แมกนีเซียม คลอไรด์ เป็นต้น จัดเป็นของเหลวที่ได้จากทะเลหรือมหาสมุทร โดยปกติจะพบค่าความเค็มประมาณ 3.5% หรือ 35 ppt นั่นคือในน้ำทะเลทุกๆ 1 ลิตร (1,000 กรัม) จะพบเกลืออยู่ 35 กรัม ในรูปของ Na+ และ Cl- พบความหนาแน่นที่ผิวน้ำของมหาสมุทรเฉลี่ยอยู่ที่ 1.025 g/ml เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำจืด จึงมีความหนาแน่นมากกว่า
ความสำคัญในการวัดค่าความเค็ม
ความเค็มมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตของสัตว์ทะเล ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญของคุณภาพน้ำเพราะสายพันธุ์ของสัตว์และพืชจะสามารถอยู่รอดในช่วงความเค็มที่แตกต่างกัน แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ของความเค็มก็อาจจะก่อให้เกิดความเครียดจนทำให้เสียชีวิตได้ เนื่องจากถูกทำลายระบบนิเวศ ไม่ว่าจะอยู่ในอุตสาหกรรมใด การวัดค่าความเค็มนั้นเป็นสิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึง รวมถึงการวัดระดับความเค็มของน้ำให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและใกล้เคียงกับความเค็มในน้ำทะเลมากที่สุด เนื่องจากเมื่อระยะเวลาผ่านไป ระดับของเกลือนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามปริมาณที่ระเหยไป เราจึงควรคำนึงถึงระดับความเค็มทุกครั้งเมื่อทำการเปลี่ยนแปลงน้ำ เพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศให้อยู่คงที่
หน่วยการวัดค่าความเค็ม จะแสดงเป็นกรัมของเกลือต่อน้ำหนึ่งกิโลกรัม หรือส่วนต่อพันส่วน (ppt) ตัวอย่างเช่น หากมีเกลือ 1 กรัมและน้ำ 1000 กรัม ค่าของความเค็มคือ 1 ppt (g/L)
- น้ำจืดมีปริมาณเกลือน้อยมาก ซึ่งโดยปกติน้อยกว่า 5 ppt และสำหรับน้ำที่มีค่า 0.5 – 17 ppt เรียกว่าน้ำกร่อย ส่วนใหญ่พบมากที่บริเวณปากแม่น้ำและหนองน้ำเค็ม ชายฝั่งปากแม่น้ำบางแห่งมีค่าสูงถึง 30 ppt ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและแหล่งที่มาของน้ำจืด
- น้ำทะเลมีค่าความเค็มเฉลี่ย 35 ppt ซึ่งอยู่ในช่วงระหว่าง 30 – 40 ppt ppt โดยความแตกต่างนี้จะเกิดขึ้นเนื่องจากความแตกต่างของการระเหย การตกตะกอน การเยือกแข็ง และการไหลบ่าของน้ำจืด จากพื้นดินในละติจูดและตำแหน่งที่แตกต่างกัน ความเค็มในน้ำทะเล ยังแตกต่างกันไปตามความลึกของน้ำ เนื่องจากความหนาแน่นและความดันของน้ำจะเพิ่มขึ้นตามความลึก น้ำที่มีค่าสูงกว่า 50 ppt ก็คือน้ำเกลือ แม้ว่าสิ่งมีชีวิตจำนวนไม่มากจะอยู่รอดได้ในความเข้มข้นของเกลือที่สูงเช่นนี้
แนะนำเครื่องวัดความเค็มในน้ำทะเล
เครื่องวัดความเค็ม สำหรับน้ำทะเลโดยเฉพาะ รุ่น HI98319 ตัวเครื่องสามารถอ่านค่าความเค็มได้ 2 ช่วงการวัด คือ 0.00-10.00 ppt และ 0.0-70.0 ppt เป็นเครื่องมือที่มีความถูกต้องแม่นยำสูงสำหรับการหาค่าความเค็มในน้ำทะเล หน้าจอแสดงผลเป็นตัวเลขดิจิตอลอย่างชัดเจนพร้อมโหมดการวัดอุณหภูมิ สามารถเลือกหน่วยในการอ่านค่าได้ 3 หน่วยคือ ppt / PSU / SG ตัวเครื่องกันน้ำ และมีโหมดชดเชยอุณหภูมิแบบอัตโนมัติ
บริษัท ฮานนา อินสทรูเม้นท์ส (ประเทศไทย) จำกัด
ผู้ผลิตเครื่องมือวัดชั้นนำ
“เพราะเราเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ”
WITH GREAT PRODUCTS, COME GREAT RESULTS.
Email Addresses
shop@hannathaicom
CONTACT US
Line : @hannathailand
FB : HannaThailand