สระว่ายน้ำเป็นสถานที่เพื่อสร้างความเพลิดเพลินบันเทิงใจทำให้รู้สึกผ่อนคลายเมื่ออ่อนล้าจากการทำงาน หรือจากการทำกิจกรรมต่างๆ รวมถึงเป็นกิจกรรมเพื่อการออกกำลังกาย ไม่เพียงเท่านั้นแต่ยังเป็นพื้นที่แห่งความสุขของสมาชิกทุกคนในบ้านที่มาใช้ชีวิตร่วมกันอีกด้วย เมื่อมีการใช้งานสระว่ายน้ำก็ต้องมีการดูแลรักษาเพราะสระว่ายน้ำไม่ว่าจะตั้งอยู่ในพื้นที่ร่มหรือที่โล่งแจ้งก็มักจะพบสารเคมีปนเปื้อนอยู่ด้วยเสมอ และส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายในระยะยาวดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องรู้ค่า pH ในสระว่ายน้ำ
สระว่ายน้ำปนเปื้อนจากอะไรได้บ้าง ?
ปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อสระว่ายน้ำประกอบด้วย 3 ข้อ ดังนี้
1. บุคคลที่ลงเล่นน้ำ (รวมถึงสัตว์เลี้ยง) จัดเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดสิ่งสกปรก และปนเปื้อนอยู่ในสระว่ายน้ำ รวมถึงของเสียจากร่างกาย เช่น เหงื่อ ปัสสาวะ น้ำยาซักผ้า น้ำหอม ครีมทาผิว โลชั่นกันแดด ฯลฯ ทำให้จะต้องมีการกำจัดสิ่งสกปรกที่เกิดขึ้นเหล่านี้ด้วยการเติมสารเคมีเป็นระยะๆ เพื่อปรับสภาพน้ำให้เหมาะสมอยู่ตลอดเวลา และไม่ส่งผลกระทบต่อร่างกายของผู้ที่ลงเล่นน้ำ
2. สภาพแวดล้อม การปนเปื้อนจากสภาพแวดล้อมสามารถเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาขึ้นอยู่กับบริเวณที่ตั้ง สภาพอากาศ และสภาวะแวดล้อมข้างเคียง เช่นสระว่ายน้ำกลางแจ้ง และสระว่ายน้ำในร่มจะพบการปนเปื้อนที่แตกต่างกัน สำหรับสระว่ายน้ำกลางแจ้งอาจจะเกิดการปนเปื้อนที่ปลิวมากับลม สิ่งสกปรกที่มาจากแมลง หรือการเปลี่ยนแปลงค่า pH ที่มาจากน้ำฝน เป็นต้น
3. แหล่งน้ำที่ใช้เติมสระ น้ำที่ใช้เติมในสระใหม่ หรือใช้เติมลงในสระที่มีอยู่อาจมีการปนเปื้อนจากสารอินทรีย์ชนิดที่ไม่เป็นอันตรายอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น สารอินทรีย์จากพืช ผลไม้ และโลหะจำพวกเหล็ก แมงกานีส และแคลเซียม หรือบางแห่งอาจมีการเติมสารจำพวกคลอรีน และฟอสเฟตด้วย
ตัวแปรสำคัญในการวัดคุณภาพน้ำในสระว่ายน้ำจะมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 6 พารามิเตอร์ ซึ่งจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าน้ำที่อยู่ในสระมีความปลอดภัยอยู่ในระดับใด และมีคุณสมบัติอย่างไร
1. คลอรีนอิสระ (Free Chlorine) ทำหน้าที่ฆ่าเชื้อโรค และเป็นตัวทำปฏิกิริยากับสารตัวอื่นเพื่อฆ่าเชื้อโรคในสระว่ายน้ำ โดยค่าปกติที่เหมาะสมจะอยู่ที่ 1.5 – 3 ppm
2. คลอรีนรวม (Combined Chlorine) เป็นคลอรีนที่ทำปฏิกิริยากับสารกลุ่มอื่นที่อยู่ในสระ ทำหน้าที่ฆ่าเชื้อเช่นเดียวกันแต่อาจจะให้ฤทธิ์ที่ลดลงเมื่อเทียบกับคลอรีนอิสระ
3. ความเป็นกรด-ด่าง (pH) หากพบค่า pH ต่ำเกินไป (สภาพเป็นกรด) จะส่งผลให้อุปกรณ์สระว่ายน้ำถูกกัดกร่อน และอาจทำให้ผู้ลงเล่นน้ำรู้สึกระคายเคืองผิว สามารถปรับสภาพได้โดยการเติมโซดาแอชปริมาณ 1 กิโลกรัมต่อน้ำในสระ 100 ลูกบาศก์เมตร แต่หากพบค่า pH สูงเกินไป จะทำให้เกิดคราบตะกรันบนพื้นผิว และอุปกรณ์ของสระ รวมถึงลดประสิทธิภาพการทำงานในการฆ่าเชื้อ สามารถปรับสภาพได้โดยการเติมกรดเกลือ (HCl) หรือ NaHSO4 ปริมาณ 1 ลิตรต่อน้ำในสระ 100 ลูกบาศก์เมตร
4. ความเป็นด่าง (Total Alkalinity) เป็นการวัดค่าคาร์บอเนต ไบคาร์บอเนต ไฮดรอกไซด์ และสารอัลคาไลน์ในสระว่ายน้ำ โดยค่าความเป็นด่างจะช่วยป้องกันไม่ให้ค่า pH พุ่งสูงขึ้น หรือลดลงเร็วเกินไป โดยค่าที่เหมาะสมควนอยู่ระหว่าง 80 – 120 ไมครอน
5. ความกระด้างของน้ำ (Total Hardness) เป็นการวัดค่าแคลเซียม และแมกนีเซียม ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดความกระด้างของน้ำ เมื่อมีในปริมาณสูงจะทำให้เกิดการสะสมของหินปูนที่บริเวณขอบของสระว่ายน้ำ แต่หากพบแคลเซียมในปริมาณที่ต่ำเกินไปน้ำจะเกิดสภาวะที่เป็นกรดมากขึ้น โดยค่าที่แนะนำจะต้องอยู่ในระหว่าง 200 – 400 ppm
6. กรดไซยานูริก (Cyanuric acid) เป็นสารป้องกันคลอรีนเสื่อมสภาพจากรังสียูวี หากพบระดับของกรดไซยานูริกต่ำเกินไปจะทำให้สูญเสียการป้องกันคลอรีนจากแสงอาทิตย์ แต่หากสูงมากเกินไปคลอรีนจะทำงานไม่ได้ผล เพราะถูกโมเลกุลของกรดไซยานูริกจับเอาไว้ไม่ให้ทำปฏิกิริยากับสารปนเปื้อน
“คลอรีน”ถือว่าเป็นสารที่มีความปลอดภัยสูง เพราะสามารถฆ่าเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้น้ำใส สะอาด ปลอดเชื้อ และสามารถสลายตัวได้ในเวลาอันรวดเร็ว แต่ต้องใส่ในปริมาณที่เหมาะสม หากใช้ในปริมาณที่เกินพอก็จะส่งผลอันตรายต่ออวัยวะของร่างกายได้ เช่น จมูก ตา ผิวหนัง เมื่อถูกคลอรีนกัดจะเกิดการอักเสบ บวม และพอง ถ้าสูดดมเข้าไปจะทำให้เกิดอาการอึดอัด หายใจไม่สะดวก เจ็บคอ แน่นหน้าอก ถ้าได้รับในปริมาณมากอาจทำให้เสียชีวิตได้ทันที
ตารางแสดงค่ามาตรฐานของน้ำในสระว่ายน้ำ สำหรับสระว่ายน้ำคลอรีน
พารามิเตอร์ | ค่าที่เหมาะสมสำหรับ สระว่ายน้ำส่วนตัว |
ค่าที่เหมาะสมสำหรับ สระว่ายน้ำสาธารณะ |
คลอรีนอิสระ (Free Chlorine) | 1.0 ppm | 1.5 – 3.0 ppm |
ความเป็นกรด-ด่าง (pH) | 7.2 – 7.6 | 7.2 – 7.6 |
ความเป็นด่าง (Total Alkalinity) | 80 – 150 ppm | 80 – 150 ppm |
ความกระด้างของน้ำ (Total Hardness) |
200 – 400 ppm | 200 – 400 ppm |
กรดไซยานูริก (Cyanuric acid) | 20 – 40 ppm | 20 – 40 ppm |
ตารางแสดงค่ามาตรฐานของน้ำในสระว่ายน้ำ สำหรับสระว่ายน้ำเกลือ
พารามิเตอร์ | ค่าที่เหมาะสมสำหรับ สระว่ายน้ำส่วนตัว |
ค่าที่เหมาะสมสำหรับ สระว่ายน้ำสาธารณะ |
คลอรีนอิสระ (Free Chlorine) | 1.0 ppm | 1.5 – 3.0 ppm |
ความเป็นกรด-ด่าง (pH) | 7.2 – 7.6 | 7.2 – 7.6 |
ความเป็นด่าง (Total Alkalinity) | 80 – 150 ppm | 80 – 150 ppm |
ความกระด้างของน้ำ (Total Hardness) |
200 – 400 ppm | 200 – 400 ppm |
ความเข้มข้นของเกลือ (Salt level) |
3500 – 4000 ppm | 3500 – 4000 ppm |
pH Meter คือเครื่องมือที่ให้ความละเอียดและถูกต้องแม่นยำสูง
เครื่อง pH meter มีหลายแบบ เช่น แบบปากกา แบบมือถือ แบบตั้งโต๊ะ หรือแบบติดตั้ง ซึ่งการวัดค่า pH โดยใช้เครื่อง pH Meter นั้นจะเหมาะกับการใช้ในงานอุตสาหกรรมมากที่สุด หากมีการเลือกเครื่องมือวัดให้ตรงกับประเภทของการใช้งาน
บริษัท ฮานนา อินสทรูเม้นท์ส (ประเทศไทย) จำกัด
ผู้ผลิตเครื่องมือวัดชั้นนำ
“เพราะเราเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ”
WITH GREAT PRODUCTS, COME GREAT RESULTS.
Email Addresses
shop@hannathaicom
CONTACT US
Line : @hannathailand
FB : HannaThailand