ค่า EC ในอุตสาหกรรมชุบโลหะ | Hanna Instruments

อุตสาหกรรมชุบโลหะเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานที่เชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยเฉพาะชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์จากโลหะเหล็ก เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ท่อ และข้อต่อกัลวาไนซ์ เครื่องสุขภัณฑ์ที่ทำด้วยโลหะ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องมือช่าง น็อตสกรูกุญแจ ส่วนประกอบของเครื่องจักรกลต่างๆ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมเกษตร อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมเซรามิก อุตสาหกรรมไฟฟ้า อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ “อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์” เป็นต้น

การชุบโลหะ หมายถึงการทำให้โลหะชนิดหนึ่งเคลือบอยู่บนผิวของโลหะอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีมานานเพื่อปรับปรุงผิวชิ้นงานให้มีความแข็งแรง เพื่อทนต่อการสึกหรอ การเสียดสี ความร้อน รวมถึงป้องกันการกัดกร่อน การชุบเคลือบเป็นการนำวัสดุมาเคลือบติดกับผิวชิ้นงานได้แก่ การพ่นเคลือบด้วยเปลวความร้อน การชุบเคลือบผิวด้วยไฟฟ้าการเคลือบผิวด้วยไอ กายภาพและไอเคมี การทาสี การเคลือบสารแม่เหล็กลงบนแผ่นดิสก์

การชุบโลหะมีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ คือ

  1. เพื่อตกแต่งผลิตภัณฑ์ให้เกิดความสวยงาม แวววาว
  2. เพื่อป้องกันการผุกร่อน และยืดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์
  3. เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ เช่น การนำไฟฟ้า การสะท้อนแสง ทนทานต่อแรงบิด ช่วยในงานเชื่อมประสานโลหะ ทนทานต่อสารเคมี ความสามารถในการยึดเกาะกับเนื้อยางพารา เพิ่มความแข็งแรง เป็นต้น

มลพิษและผลกระทบ

การใช้สารเคมีหลายชนิดส่งผลโดยตรงต่อมลพิษ มีมลพิษจากของเสียอันตราย มลพิษทางน้ำ หรือมลพิษทางอากาศในลักษณะกลิ่นหรือไอระเหย โดยส่วนใหญ่จะแพร่กระจายในบริเวณใกล้เคียงพื้นที่ปฏิบัติงาน ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของพนักงาน ตัวอย่างเช่น กรดโครมิกเป็นสารเคมีหลักในส่วนผสมของน้ำยาสำหรับการชุบทำให้การแพร่กระจายตัวเกิดขึ้นสูงมาก ซึ่งเป็นอันตรายต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมภายนอกโรงงาน รวมถึงโลหะหนักอื่นๆ ด้วย เช่น นิกเกิล โครเมียม ทองแดง สังกะสี เงิน และดีบุก

มลพิษทางน้ำถือเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบโดยตรง เนื่องจากในกระบวนการชุบโลหะ น้ำเป็นปัจจัยหลักสำหรับขั้นตอนการล้างเพื่อกำจัดไขมัน สนิม และน้ำยาชุบ ทั้งนี้น้ำที่ผ่านกระบวนการล้างมาแล้วจะกลายเป็นน้ำเสียที่ปนเปื้อนสารเคมีประเภทกรด ด่าง ไซยาไนด์ หรือโลหะหนัก ซึ่งจะต้องถูกบำบัดก่อนระบายทิ้ง พารามิเตอร์หนึ่งที่จะเป็นตัวกำหนดคุณภาพน้ำได้ดีที่สุดคือ การวัดค่าการนำไฟฟ้าของน้ำ เพื่อประเมินคุณภาพน้ำเบื้องต้นได้

กระบวนการการชุบโลหะ ที่มีค่า EC เกี่ยวข้อง

1) การชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน Hot dipped galvanizing คือ กระบวนการชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน เพื่อเคลือบผิวเหล็ก หรือเหล็กกล้า

2) Surface hardening คือ กระบวนการทางด้านวัสดุโลหะ ที่ทำให้ผิวด้านนอกของวัตถุมีความแข็งมากกว่าเนื้อวัตถุที่อยู่ภายใน เป็นวิธีการปรับปรุงผิวโลหะให้มีความแข็ง (Hardness) เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้มีความทนทาน (Durable) และสามารถต้านทานการสึกกร่อน (Wear-resistance) ได้ดี เช่น

Carburizing คือ การปรับปรุงสภาพผิวของเหล็กกล้าประเภทคาร์บอนต่ำอบกับสารที่มีปริมาณคาร์บอนสูง โดยคาร์บอนจะแพร่กระจายเข้าไปในผิวเนื้อเหล็กที่อุณหภูมิสูง 845-955 องศาเซลเซียส เกิดเป็นชั้นผิวแข็งหุ้มที่เปลือกนอกของชิ้นโลหะ และมีคาร์บอนเพิ่มขึ้นประมาณ 0.85 % สารคาร์บอนที่นำมาอบที่เป็นของแข็ง ได้แก่ ถ่านไม้ หรือถ่านโค้ก ผสมกับแบเรียมคาร์บอเนต สารที่เป็นก๊าซ ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนโมโนออกไซด์ มีเทน เป็นต้น

Nitriding คือ การปรับปรุงสภาพผิวโลหะภายใต้บรรยากาศของก๊าซแอมโมเนีย เกิดการละลายของไนโตรเจนในเนื้อโลหะและเกิดสารประกอบไนโตรด์ที่ผิวนอกทำให้ผิวชิ้นงานมีลักษณะแข็งมาก

3) การชุบโลหะอื่น ๆ เช่น Cladding, Vapor deposition, Vacuum coating เป็นต้น

– Cladding เป็นการปรับปรุงผิวโลหะเพื่อป้องกันสนิมด้วยการปกคลุมเนื้อโลหะด้วยโลหะอีกชนิดหนึ่ง และยึดติดกันด้วยแรงกล เช่น การอัดบีบ การรีดดึง ภายใต้ความดันสูง ตัวอย่างเช่น การผลิตเหรียญกษาปณ์ แผงอลูมิเนียมประดับอาคาร เป็นต้น

– Vapor deposition คือการทำให้สารกลายไอ หรือ มีสถานะเป็นก๊าซ จากนั้นเกิดการกลั่นตัว หรือเกิดปฏิกิริยาเคมีที่ผิววัตถุ เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติต่าง ๆ เช่น คุณสมบัติทางกล ไฟฟ้า ความร้อน สะท้อนแสง ป้องกันสนิมและต้านทานการสึกกร่อน

– Vacuum coating คือการเคลือบผิววัตถุ ในสภาพสูญญากาศ หรือมีความกดอากาศน้อย ทำให้ผิวเคลือบมีความบริสุทธิ์และไม่มีสารเจือปน เนื่องจากไม่มีก๊าซชนิดอื่นปะปน ส่วนมากใช้ในอุตสาหกรรมผลิต เวเฟอร์ อัญมณี ฟิล์มโลหะหรือฟิล์มนำไฟฟ้า และฟิล์มนำไฟฟ้าชนิดโปร่งใส เช่น แผงป้องกันฝ้าที่กระจก ฟิล์มป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ที่จอภาพ เป็นต้น

การวัดค่าการนำไฟฟ้า (EC)

จากหลักการที่ว่าน้ำบริสุทธิ์นำไฟฟ้าได้ต่ำ เมื่อเราเติมสารละลายที่ใช้ในการชุบโลหะลงในน้ำจะส่งผลทำให้ค่า EC สูงขึ้นจากเดิม ค่า EC ที่สูงขึ้นนั้นจะเป็นตัวบ่งบอกว่าสารที่นำไปชุบโลหะของเรามีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น จึงทำให้สามารถกำหนดตามความต้องการได้

นอกจากนี้การใช้ค่า EC ในการวัดปริมาณสารที่นำไปชุบโลหะดีกว่าการตวงหรือชั่งน้ำหนักเนื่องจากมีความแม่นยำมากกว่าทำให้เหมาะสมกับการนำโลหะไปชุบมากที่สุด คำแนะนำในการเลือกซื้อ เครื่องวัดค่าการนำไฟฟ้า ควรเลือกซื้อจากผู้จัดจำหน่ายที่เชื่อถือได้และแบรนด์เป็นที่ยอมรับ เพื่อให้ได้เครื่องวัดที่มีความแม่นยำสูงควรเลือกซื้อสินค้าที่มาพร้อมกับใบรับรองการสอบเทียบจากโรงงานผู้ผลิต แต่หากไม่มีใบรับรองสามารถส่งสอบเทียบกับผู้ให้บริการที่ได้รับการรับรอง ISO17025

(คลิกเพื่อดูสินเค้าเพิ่มเติม)

บริษัท ฮานนา อินสทรูเม้นท์ส (ประเทศไทย) จำกัด

ผู้ผลิตเครื่องมือวัดชั้นนำ

“เพราะเราเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ”

WITH GREAT PRODUCTS, COME GREAT RESULTS.

 

Email Addresses

info@hannathaicom

 

CONTACT US

Line : @hannathailand

FB : HannaThailand