คลอรีนสำคัญอย่างไร | ทำไมต้องใส่ในสระว่ายน้ำ ?

ในชีวิตประจำวันของเรามักพบ คลอรีน (Chlorine) ในรูปแบบต่างๆ เช่น น้ำประปาที่เราใช้อยู่ สระว่ายน้ำ รวมถึงสปาที่มักจะมีการใส่คลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อโรค โรงบำบัดน้ำเสียเพื่อควบคุมคุณภาพน้ำก่อนปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม ฯลฯ ซึ่งคลอรีนจะถูกนำมาใช้อย่างเหมาะสมในการฆ่าเชื้อโรค ควบคุมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ แต่ถ้ามีปริมาณที่มากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายได้

คลอรีน เป็นสารเคมีที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นทางด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม ตลอดจนสาธารณสุข และที่เห็นได้ชัดเจนคือ การนำมาเป็นสารในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ของขบวนการผลิตน้ำดื่ม น้ำสำหรับอุปโภคบริโภค น้ำใช้อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ฟาร์มเลี้ยงปศุสัตว์ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ ในตลาดสด และในครัวเรือน รวมทั้งใช้ในกระบวนการบำบัดน้ำเสียจากแหล่งต่างๆ และที่สำคัญอย่างยิ่งใน สระว่ายน้ำ

ทำไมสระว่ายน้ำจึงต้องใส่คลอรีน ?

การดูแลควบคุมคุณภาพของน้ำในสระว่ายน้ำเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้ดูแลสระว่ายน้ำหรือเจ้าของสระว่ายน้ำต้องให้ความใส่ใจ เพราะบางครั้งหากเติมคลอรีนในปริมาณที่มากเกินพอลงในน้ำเพื่อให้ฆ่าเชื้อโรคจะทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย เช่น ส่งผลให้รู้สึกแสบตา เกิดความระคายเคืองผิว ไม่เพียงเท่านั้นการสัมผัสกับสารดังกล่าวผ่านการสูดดมหรือรับประทานในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต แต่หากใส่ในปริมาณที่น้อยเกินไปก็จะทำให้ไม่สามารถฆ่าเชื้อโรคที่อยู่ในสระว่ายน้ำให้หมดไปได้

ประเภทของคลอรีน

คลอรีนแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้         

1. คลอรีนชนิดก๊าซ (Chlorine Gas) ก๊าซคลอรีนเป็นคลอรีนในสถานะก๊าซ นิยมใช้กันมากในกระบวนการผลิตน้ำประปา
2.คลอรีนชนิดน้ำ (Chlorine Liquid) เป็นคลอรีนที่อยู่ในรูปสารละลาย นิยมใช้กันมากสำหรับการฆ่าเชื้อโรคในลักษณะต่างๆ ผลิตภัณฑ์ที่นิยมใช้คือ โซเดียมไฮโปคลอไรต์ (NaClO) เป็นสารละลายสีเขียวอมเหลืองมีคลอรีนประมาณร้อยละ 7-15
3. คลอรีนชนิดของแข็ง เป็นคลอรีนในลักษณะผง เช่น แคลเซียมไฮโปคลอไรต์ โซเดียม
ไดคลอโรไอโซไซยานูเรต (NaDCC หรือ SDIC) และไตรคลอโรไอโซไซยานูริก แอซิด (TCCA)

คลอเรต

คลอไรต์ ไฮโปคลอไรต์

เปอร์คลอเรต

คลอรามีน คลอรีนไดออกไซด์

กรดคลอริก

คลอรีนโมโนฟลูออไรด์

คลอรีนไตรฟลูออไรด์

คลอรีนเพนต้าฟลูออไรด์

ไดคลอรีนโมนอกไซด์ ไดคลอรีนเฮปตอกไซด์
กรดไฮโดรคลอริก

กรดเปอร์คลอริก

 

ค่ามาตรฐานของคลอรีนในสระว่ายน้ำ

  • สำหรับสระว่ายน้ำ0 PPM
  • สำหรับสระบริการ 5-2.0 PPM

ค่ามาตรฐานของกรด-ด่างในสระว่ายน้ำ

  • สำหรับสระว่ายน้ำทั่วไป ควรควบคุมให้อยู่ที่ pH 7.4 (หรืออยู่ระหว่างค่า pH 7.2-7.6)

*** หากค่า pH ต่ำกว่ามาตรฐาน ค่าน้ำมีความเป็นกรด      
    แต่ถ้าค่า pH สูงกว่ามาตรฐาน ค่าน้ำมีความเป็นด่าง

การเติมคลอรีนในสระว่ายน้ำ

ควรวัดค่าคลอรีนก่อนทุกครั้ง การเติมคลอรีน จะเติมในเวลาหัวค่ำ เนื่องจากในเวลากลางวันน้ำจะมีอุณหภูมิสูงส่งผลให้คลอรีนระเหยตัวไว “NISSAN” T.C.C.A.90 (คลอรีน 90%) ใส่ทุกๆ คืน ในอัตราส่วน 300 กรัมต่อน้ำ 100 คิว จะได้คลอรีนประมาณ 1.0-1.5 PPM เมื่อวัดค่าคลอรีนในตอนเช้าของวันรุ่งขึ้น แนะนำให้รักษาค่าคลอรีนไว้ไม่ให้ต่ำกว่า 1.0 PPM เมื่อเวลาประมาณ 10.00 น. เช้าของทุกๆ วัน ในกรณีค่าคลอรีนไม่ถึงค่าที่กำหนดให้ปรับปริมาณคลอรีนที่เติมมากน้อยตามความเหมาะสม

โดยปกติเรามักต้องเติมคลอรีนทุกวัน เนื่องจากสภาวะแวดล้อมพบฝุ่นละอองและเชื้อแบคทีเรียมากมาย รวมถึงตะไคร่น้ำ ซึ่งอาจเกิดการฟักตัวในสระว่ายน้ำ ทำให้น้ำขุ่นมัว รวมถึงละอองโลหะและใบไม้ทำให้น้ำเปลี่ยนสีได้ คลอรีนจึงทำหน้าที่ฆ่าเชื้อและฟอกสีให้จางลงทำให้น้ำใสสะอาด

ประโยชน์และโทษของคลอรีน

  • คลอรีนถือว่าเป็นสารที่มีความปลอดภัยสูงเพราะสามารถฆ่าเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    ทำให้น้ำใสสะอาด ปลอดเชื้อ และสามารถสลายตัวได้ในเวลาอันรวดเร็ว แต่ต้องใส่ในปริมาณที่เหมาะสม
  • หากใช้ในปริมาณที่มากเกินไป อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพถึงชีวิต เช่น ตา จมูก ผิวหนัง เมื่อสัมผัสคลอรีนจะอักเสบและบวมพอง ถ้าสูดดมจะทำให้เกิดอาการอึดอัด หายใจไม่สะดวก เจ็บคอ แน่นหน้าอก
  • ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตกระดาษ ทำยาฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ทำสีผสมอาหาร ยาฆ่าแมลง สี ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม พลาสติก เวชภัณฑ์ อุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นต้น
  • ในทางเคมีอินทรีย์ ใช้ธาตุนี้ในปฏิกิริยาออกซิเดชันและปฏิกิริยาแทนที่ เมื่อเข้าไปแทนที่ไฮโดรเจนจะได้ผลิตภัณฑ์ยางสังเคราะห์
  • ใช้ในการผลิตคลอเรต เช่น คลอโรฟอร์ม คาร์บอน เตตระคลอไรด์ และใช้ในการสกัดโบรมีน

แต่จะทราบได้อย่างไรว่าคลอรีนที่ใส่ไปจะตรงตามมาตรฐานที่กำหนดของสระว่ายน้ำ ? สิ่งจำเป็นที่จะต้องมีคือ เครื่องวัดค่าคลอรีน เป็นเครื่องตรวจสอบความเข้มข้นของคลอรีนในน้ำ รายงานผลในหน่วยมิลลิกรัมต่อลิตร (mg/L หรือ PPM) การวัดหาปริมาณคลอรีนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือคลอรีนรวมทั้งหมดและคลอรีนอิสระ

บริษัท ฮานนา อินสทรูเม้นท์ส (ประเทศไทย) จำกัด

ผู้ผลิตเครื่องมือวัดชั้นนำ

“เพราะเราเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ”

WITH GREAT PRODUCTS, COME GREAT RESULTS.

 

Email Addresses

info@hannathaicom

 

CONTACT US

Line : @hannathailand

FB : HannaThailand