อุตสาหกรรมใดบ้างที่จำเป็นต้อง”บำบัดน้ำเสีย” ?

การ”บำบัดน้ำเสีย” นับว่าเป็นกระบวนการที่สำคัญที่สุดสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ และเป็นความรับผิดชอบของบริษัทที่ต้องช่วยกันรักษาโลกของเราให้มีสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อให้ประชากรทุกคนบนโลกยังสามารถอาศัยอยู่กันได้อย่างปลอดภัย จากผลสำรวจพบว่าปริมาณการใช้น้ำทั้งหมดในประเทศสหรัฐอเมริกาคาดว่าอยู่ที่ประมาณ 322 พันล้านแกลลอนต่อวัน โดยครึ่งหนึ่งถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรม ในปี 2017 อุตสาหกรรมของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ใช้เงินจำนวน 10.2 พันล้านดอลลาร์ ในการบริหารจัดการน้ำ รวมไปถึงการจัดหาน้ำ การนำกลับมาใช้ใหม่ การบำบัด และการปล่อยน้ำทิ้ง

บางบริษัทไม่สามารถบำบัดน้ำเสียได้เอง อาจเป็นเพราะไม่มีใบอนุญาต หรือกระบวนการจัดการซับซ้อนเกินกว่าที่จะจัดการเองโดยไม่มีอุปกรณ์ ในขณะที่การบริการบำบัดน้ำเสียแบบมืออาชีพจะมีใบอนุญาต มีประสบการณ์ และความรู้ทางเทคนิคที่จำเป็น ในราคาที่ไม่แพงเกินไป และเหนือสิ่งอื่นใดต้องมีความปลอดภัยที่สุด ทำไมถึงต้องมีการบำบัดน้ำเสียออกจากโรงงานอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมใดบ้างที่จำเป็นจะต้องได้รับการบำบัดน้ำเสีย

ทำไมการบำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรมจึงมีความสำคัญ ?

“การบำบัดน้ำเสีย” หมายถึงการกำจัด หรือทำลายสิ่งปนเปื้อนในน้ำเสียให้หมดไป หรือให้เหลือน้อยที่สุดตามมาตรฐานที่กำหนด และไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากเพราะน้ำส่วนใหญ่จะถูกถ่ายเทกลับสู่ธรรมชาติ ดังนั้นสิ่งสำคัญอันดับแรกก่อนจะปล่อยน้ำสู่สาธารณะ คือต้องมั่นใจว่าปริมาณความเข้มข้นของสารปนเปื้อนในน้ำเสียลดลงตามเกณฑ์มาตรฐานเหมาะสมสำหรับพร้อมปล่อยออก เพราะระดับมลพิษสูงในน้ำเสียส่งผลกระทบร้ายแรงต่อระบบนิเวศในท้องถิ่น และก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพสำหรับผู้ที่อาศัยบริเวณใกล้เคียง อีกทั้งน้ำเสียจากแหล่งต่างกันจะมีคุณสมบัติที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นกระบวนการบำบัดน้ำเสียจึงมีหลายวิธี โดยทั่วไปมี 3 วิธี คือ

  1. กระบวนการทางเคมี สามารถทำได้โดยการแยกสารต่างๆ หรือสิ่งปนเปื้อนในน้ำเสียที่บำบัด เช่น โลหะหนัก สารพิษ สภาพความเป็นกรด หรือด่างสูง ที่ปนเปื้อนจากการเติมสารเคมีต่างๆ ลงไป ทำปฏิกิริยา อาศัยหลักการตกตะกอน การเกิดออกซิเดชันทางเคมี การเกิดรีดักชันทางเคมี หรือการสะเทินวิธีนี้จะเลือกในกรณีน้ำเสียนั้นไม่สามารถบำบัดได้ด้วยวิธีทางกายภาพ หรือชีวภาพ
  2. กระบวนการทางชีววิทยา สามารถทำได้โดยอาศัยจุลินทรีย์ต่างๆ มาทำการย่อยสลายเปลี่ยนอินทรีย์สารให้เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และแอมโมเนีย ซึ่งเป็นการบำบัดน้ำเสียที่ดีที่สุดในแง่ของการลดปริมาณสารอินทรีย์ในแหล่งน้ำ เพียงแต่ต้องเลือกสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการทำงานของจุลินทรีย์เท่านั้นเอง
  3. กระบวนการทางกายภาพ สามารถทำได้โดยแยกของแข็งที่ไม่ละลายน้ำออก โดยวิธีนี้จะแยกตะกอนได้ประมาณ 50-65 % และแยกออกมาในรูปของสารอินทรีย์ (BOD) อีก 20-30 % ในกระบวนการนี้มีด้วยกันหลายวิธี เช่น การดักด้วยตะแกรง การตัดย่อย การกวาด การทำให้ลอย การตกตะกอน

น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมประกอบด้วยอะไรบ้าง ?

สิ่งที่ปนเปื้อนในน้ำเสียแต่ละแหล่งขึ้นอยู่กับประเภทของอุตสาหกรรม โดยน้ำเสียจากอุตสาหกรรมอาจมีสารปนเปื้อนจากสิ่งต่อไปนี้

กรด แอมโมเนีย สารฟอกขาว

คลอรีน

สารเติมแต่ง เช่น แคลเซียมฟอสเฟต หรือโซเดียมฟอสเฟต

ของเหลวจากเครื่องจักร แคลเซียม และแมกนีเซียมไอออน โลหะหนัก เช่น สารหนู เหล็ก ตะกั่ว และสังกะสี

คลอโรฟอร์ม

เซลลูโลส ไซยาไนต์

ผงซักฟอก

เศษอาหาร

สีย้อม ฮอร์โมน และยาปฏิชีวนะ

น้ำมันเครื่อง

อินทรียวัตถุ

สี สารอาหาร เช่น ไนเตรต และฟอสเฟต

ปิโตรเลียม

ผลิตภัณฑ์ยา

ตัวทำละลาย

ตะกอน

น้ำตาล และไขมัน

อุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องได้รับการบำบัดน้ำเสีย

1.อุตสาหกรรมทางการเกษตร

อุตสาหกรรมการเกษตรจำเป็นต้องใช้น้ำสำหรับทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การชลประทาน การให้น้ำปศุสัตว์ และการล้างเครื่องจักร เนื่องจากทางการเกษตรจะต้องใช้ปุ๋ยต่างๆ น้ำเสียที่เกิดจากอุตสาหกรรมนี้จึงมักจะพบฟอสเฟต และไนเตรตในปริมาณสูง รวมทั้งสารประกอบทางเคมีจำพวกสารกำจัดวัชพืช และยาฆ่าแมลง ยิ่งไปกว่านั้นเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ ทางการเกษตรแบบเฉพาะทางก็อาจจะสร้างน้ำเสีย

2. อุตสาหกรรมยานยนต์ และเครื่องจักร

อุตสาหกรรมยานยนต์ และเครื่องจักร เช่น ร้านซ่อม และบำรุงรักษา ทำให้เกิดของเสียในรูปแบบของเหลวปริมาณมาก เช่น น้ำมันที่ใช้แล้ว / สารป้องกันการแข็งตัว / น้ำมันเกียร์ และที่ปัดน้ำฝน / ผงซักฟอก / จารบี / สี / ตัวทำละลาย / น้ำที่ใช้ล้างชิ้นส่วน หรือสายต่างๆ ส่งผลให้ร้านขาย หรือซ่อมรถยนต์จึงไม่สามารถทิ้งน้ำเสียลงสู่ท่อระบายน้ำได้

3. อุตสาหกรรมการก่อสร้าง

อุตสาหกรรมก่อสร้างมีโอกาสที่จะสร้างขยะมูลฝอยเป็นจำนวนมาก และก็สามารถสร้างน้ำเสียได้เช่นเดียวกัน เช่น การล้างอุปกรณ์ก่อสร้างขนาดใหญ่สามารถทำให้เกิดน้ำเสียที่ทางผู้ประกอบการจะต้องรับผิดชอบดูแลให้ถูกวิธี รวมถึงการใช้สารเคมี เช่น สี ตัวทำละลาย กาว ก็สามารถก่อให้เกิดน้ำเสียด้วยเช่นกัน

4. อุตสาหกรรมผลิตอาหาร และแปรรูป

อุตสาหกรรมผลิตอาหารแปรรูป มีความจำเป็นที่จะต้องใช้น้ำล้างผัก ผลไม้ หรือเลือดสัตว์ และขยะอินทรีย์หลังจากการฆ่าสัตว์ ถึงแม้ว่าน้ำเสียจากการล้างผัก ผลไม้จะไม่เป็นพิษ แต่ก็ประกอบด้วยอนุมูลอิสระที่มีความเข้มข้นสูง และน้ำเสียจากที่ใช้ในกระบวนการฆ่าสัตว์จะประกอบไปด้วยของเสียอินทรีย์ เช่น เลือด ผิวหนัง และอุจจาระของสัตว์ รวมถึงสารประกอบสังเคราะห์ในระดับสูง เช่น ฮอร์โมน และยาปฏิชีวนะ

5. อุตสาหกรรมการผลิต

อุตสาหกรรมการผลิตเหล็ก จะต้องผ่านกระบวนการต่างๆ มากมาย ทำให้เกิดน้ำเสียปริมาณมาก เนื่องจากการผลิตเหล็กจากแร่ในเตาหลอมต้องใช้น้ำเย็นในปริมาณมากทำให้อาจเกิดการปนเปื้อนจากแอมโมเนีย และไซยาไนต์ รวมไปถึงในขั้นตอนกระบวนการเหล็กก็จำเป็นต้องใช้น้ำหล่อเย็น และน้ำมันหล่อลื่น ดังนั้นในกระบวนการผลิตเหล็กอาจจะก่อให้เกิดกากน้ำมันจำนวนมากปนเปื้อนอยู่ในน้ำเสียด้วย

6. อุตสาหกรรมทางทะเล

อุตสาหกรรมทางทะเล จะสร้างน้ำเสียได้ด้วยวิธีต่างๆ และหนึ่งในนั้น คือ น้ำอับเฉา เป็นน้ำที่ใช้ปรับจุดศูนย์ถ่วงให้เรือสามารถทรงตัวได้ เช่น เรือขนส่งสินค้า น้ำอับเฉามักจะประกอบด้วยอินทรียวัตถุที่มีความเข้มข้นสูง และกลายเป็นน้ำเสียในที่สุด นอกจากนั้นยังมีน้ำเสียจากท้องเรือ ซึ่งเป็นจุดผสมของเสียทั้งหมดที่ถูกรวบรวมไว้ที่จุดต่ำสุดของเรือ รวมถึงน้ำมัน สารเคมี กากตะกอน น้ำจืด และน้ำทะเล โดยน้ำเสียเหล่านี้ไม่สามารถปล่อยลงสู่มหาสมุทรได้

7. อุตสาหกรรมเหมืองแร่ และหิน

อุตสาหกรรมเหมืองแร่ และหิน สำหรับการขุด และทำเหมืองแร่ก่อให้เกิดน้ำเสียปริมาณมาก จากกระบวนการที่ต้องใช้น้ำแยกวัสดุ เช่น การแยกถ่านหินออกจากทราย หิน สิ่งสกปรก และกรวดที่อยู่บริเวณโดยรอบ การแยกโลหะที่มีค่าออกจากโลหะที่ไม่ต้องการ เช่น สังกะสี และสารหนู จะถูกทิ้งไว้ในน้ำเสีย

8. อุตสาหกรรมน้ำมัน และก๊าซ

อุตสาหกรรมน้ำมัน และก๊าซ ในขั้นตอนการสกัดน้ำมัน และก๊าซจะทำให้เกิดน้ำเสียในปริมาณมากจากในกระบวนการทำความสะอาด หรือของเสียจากน้ำมัน ดังนั้นสิ่งที่คงเหลือในถังจึงต้องได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องเหมาะสม น้ำมันที่เสียแล้วบางชนิดสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ทำให้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่บริษัทกำจัดขยะสามารถช่วยบริษัทน้ำมัน และก๊าซในการรีไซเคิลของเสียได้

9. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยา

อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยา ตลอดกระบวนการผลิตยาจะต้องใช้น้ำเกือบทุกขบวนการทำให้เกิดน้ำเสียในปริมาณมาก ของเสียจากการรผลิตทางเภสัชกรรม และยา ได้แก่ ของเสียจากส่วนผสมยาที่ควบคุมได้ และส่วนเหลือทิ้ง หรือของเสียจากสารที่เกิดขึ้น และควบคุมไม่ได้ ทั้งนี้ทำให้เกิดน้ำเสียที่ต้องกำจัด หรือบำบัดทั้งสิ้น

10. อุตสาหกรรมผลิตกระดาษ

อุตสาหกรรมผลิตกระดาษ และเยื่อกระดาษ เป็นอีกอุตสาหกรรมหนึ่งที่ใช้น้ำในการผลิตปริมาณมหาศาล โดยประมาณ 17,000 แกลลอนต่อการผลิตหนึ่งตัน รวมถึงองค์ประกอบอื่นๆ ด้วย เช่น กรด และคลอรีน ซึ่งจำเป็นอย่างมากในกระบวนการฟอกขาว ดังนั้นน้ำเสียจากการผลิตเยื่อกระดาษ และกระดาษจะมีสารปนเปื้อน เช่น กรด คลอรีน คลอโรฟอร์ม ไดออกซิน ไฮโดรคาร์บอน และฟีนอล นั่นเอง

11.อุตสาหกรรมสิ่งทอ

อุตสาหกรรมสิ่งทอต้องใช้น้ำปริมาณมากในกระบวนการผลิต รวมถึงสารเคมีอื่นๆ ด้วย เช่น สารฟอกขาว และสีย้อม ดังนั้นจึงทำให้เกิดน้ำเสียปริมาณมากเช่นกัน ส่งผลให้ทางผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงการกำจัดของเสียเหล่านี้ให้เหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

การบำบัดน้ำเสีย

ในกระบวนการบำบัดน้ำเสียนั้นก็มีน้ำเสียที่จะต้องบำบัดด้วยตัวมันเอง เนื่องจากเครื่องมือในการอำนวยความสะดวกในการบำบัดน้ำเสียจะช่วยขจัดสิ่งสกปรก และทำให้น้ำปลอดภัยสำหรับอุปโภคบริโภคของมนุษย์ ดังนั้นตัวมันเองจึงสร้างน้ำเสียที่ประกอบด้วยสารปนเปื้อน เช่น สารอินทรีย์ แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก และคาร์บอเนต โดยน้ำเสียนี้ไม่ควรที่จะกลับคืนสู่ธรรมชาติโดยที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการบำบัดก่อน

การบำบัดน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรม

การบำบัดน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรมมีขั้นตอน และกระบวนการที่แตกต่างกัน ดังนี้

  • การกำจัดของแข็งด้วยกากตะกอน การเติมอากาศ หรือกระบวนการแบบไม่ใช้ออกซิเจน
  • การใช้ตัวแยกเพื่อกำจัดน้ำมัน และจารบี
  • การกำจัดสารอินทรีย์โดยใช้ตะกอน
  • เปลี่ยนสภาวะให้เป็นกลางด้วยสารละลายกรด-ด่าง
  • การตกตะกอนโลหะหนักด้วยสารเคมี หรือการปรับค่ากรด-ด่าง
  • การกำจัดไอออนของสารละลายที่ไม่ต้องการ
  • การกรองผ่านเมมเบรนเพื่อกำจัดคลอรีน และสารปนเปื้อนอื่นๆ

 

pH Meter คือเครื่องมือที่ให้ความละเอียดและถูกต้องแม่นยำสูง

เครื่อง pH meter มีหลายแบบ เช่น แบบปากกา แบบมือถือ แบบตั้งโต๊ะ หรือแบบติดตั้ง ซึ่งการวัดค่า pH โดยใช้เครื่อง pH Meter นั้นจะเหมาะกับการใช้ในงานอุตสาหกรรมมากที่สุด หากมีการเลือกเครื่องมือวัดให้ตรงกับประเภทของการใช้งาน

 

เครื่องวัด pH Meter จาก ฮานนา

 (คลิกเพื่อดูสินเค้าเพิ่มเติม)

บริษัท ฮานนา อินสทรูเม้นท์ส (ประเทศไทย) จำกัด

ผู้ผลิตเครื่องมือวัดชั้นนำ

เพราะเราเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

WITH GREAT PRODUCTS, COME GREAT RESULTS.

 

Email Addresses

info@hannathaicom

 

CONTACT US

Line : @hannathailand

FB : HannaThailand