ก่อนที่จะเรียนรู้วิธีการใช้งานเครื่องวัด pH เราควรทราบถึงความหมายของค่าพีเอชในเบื้องต้นก่อน พีเอชหรือ pH คือการวัดความเป็นกรด-ด่างของน้ำหรือสารละลายอื่นๆ โดยช่วงอยู่ระหว่าง 0 ถึง 14 โดยที่ค่าพีเอช 7 เป็นกลาง และค่าพีเอช ที่น้อยกว่า 7 แสดงถึงความเป็นกรดในขณะที่พีเอช ที่มากกว่า 7 หมายถึงด่างหรือเบส การวัดค่าพีเอชเป็นการวัดปริมาณไฮโดรเจนอิสระและไฮดรอกซิลไอออนในน้ำ น้ำที่มีไฮโดรเจนไอออนอิสระมากกว่าจะเป็นกรดในขณะที่น้ำที่มีไฮดรอกซิลไอออนอิสระมากกว่านั้นเป็นด่าง นอกเหนือจากการวัดค่าพีเอชของน้ำหรือของเหลวแล้วเรายังสามารถวัดค่า pH ของก๊าซ และ ค่า pH ในของแข็งเช่นดิน ผิวหนัง และอาหารได้อีกด้วยโดยใช้เครื่องวัดที่ออกแบบมาเป็นพิเศษดังรายละเอียดด้านล่าง
วิธีที่ควรทำมากที่สุดใน“การวัดค่า pH” คือการใช้ pH meter เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของสารละลาย
หลักการทำงาน
พีเอชมิเตอร์ (pH meter) เป็นเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิก มีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วน ได้แก่ อิเล็กโทรด และเครื่องวัดศักย์ไฟฟ้า (volt meter) เครื่องวัดศักย์ไฟฟ้าจะเปลี่ยนค่าศักย์ไฟฟ้าที่วัดได้ให้เป็นค่า pH
การปรับเทียบมาตรฐาน (calibration)
ก่อนการใช้งาน จะต้องปรับเทียบมาตรฐาน (calibration) โดยการปรับเทียบกับสารละลายบัฟเฟอร์มาตรฐาน โดยการปรับที่นิยมใช้ คือระบบ two-point calibration ซึ่งจะปรับช่วง pH ที่ต้องการวัดด้วยสารบัฟเฟอร์ 2 ค่า เช่น pH 4 และ 7 หรือ pH 7 และ 10 ที่มีค่าครอบคลุมในช่วงที่ต้องการวัด ทั้งนี้เพื่อให้ได้ค่าที่ถูกต้อง
วิธีการวัด
ทำได้โดยล้างอิเล็กโทรดด้วยน้ำปราศจากไอออน (deionized water) หรือน้ำกลั่น (distilled water) และซับด้วยกระดาษทิชชู แล้วรีบจุ่มอิเล็กโทรดลงในสารละลายที่ต้องการวัดอย่างรวดเร็ว
การดูแลรักษา
การเก็บอิเล็กโทรดห้ามเก็บแห้ง โดยทั่วไปเก็บในสารละลายกรดที่มีค่า pH ประมาณ 3 และไม่เก็บหรือแช่ในน้ำกลั่น เพราะว่าไอออนที่อยู่ในอิเล็กโทรดจะแพร่ออกมาทำให้ความเข้มข้นของไอออนภายในอิเล็กโทรดลดลง โดยปกติแล้วควรทำความสะอาดอิเล็กโทรดประมาณเดือนละครั้งโดยการแช่ด้วยกรดไฮโดรคลอริก (HCl) ความเข้มข้น 0.1 โมลาร์ (M)
ปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการวัดค่า pH อาจมีสาเหตุที่แตกต่างกัน ตั้งแต่เครื่องวัดค่า สายเคเบิลและอิเล็กโทรด ไปจนถึงสารละลายบัฟเฟอร์ การวัดค่าอุณหภูมิและตัวอย่าง (การใช้งาน) ควรจดบันทึกเป็นพิเศษถึงอาการของปัญหา เนื่องจากข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ในการค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของความผิดพลาด ตารางต่อไปนี้ให้ภาพรวมของอาการและสาเหตุ
ค่าที่อ่านได้สูงเกินไป/ต่ำเกินไป หรืออยู่นอกช่วงค่า “—”
- ตรวจสอบเครื่องวัดค่า สายเคเบิล อิเล็กโทรด ขั้นตอนการสอบเทียบ และอุณหภูมิของตัวอย่าง
ค่าไม่เปลี่ยนแปลง
- ตรวจสอบเครื่องวัดค่า สายเคเบิล และอิเล็กโทรด
เวลาตอบสนองช้า
- ตรวจสอบอิเล็กโทรดและตัวอย่าง/การใช้งาน
ออฟเซ็ตสูงหลังการสอบเทียบ
- ตรวจสอบอิเล็กโทรด สารละลายบัฟเฟอร์ และขั้นตอนการสอบเทียบ
ความชันต่ำหลังการสอบเทียบ
- ตรวจสอบอิเล็กโทรด สารละลายบัฟเฟอร์ และขั้นตอนการสอบเทียบ
ความผิดพลาดของการปรับเทียบ
- ตรวจสอบเครื่องวัดค่า สายเคเบิล อิเล็กโทรด สารละลายบัฟเฟอร์ และขั้นตอนการสอบเทียบ
ค่าการวัดคลาดเคลื่อน
- ตรวจสอบอิเล็กโทรดและตัวอย่าง/การใช้งาน
คำแนะนำในการเลือกซื้อ pH Meter
ควรเลือกซื้อ pH Meter จากผู้จำหน่ายที่เชื่อถือได้และแบรนด์ที่เป็นที่ยอมรับ และเพื่อให้ได้เครื่องวัดที่มีความแม่นยำสูงควรเลือกซื้อสินค้าที่มาพร้อมกับใบรับรองการสอบเทียบ Certificate of Calibration จากโรงงานผู้ผลิต แต่หากไม่มีใบรับรองสามารถส่งสอบเทียบกับผู้ให้บริการที่ได้รับการรับรอง ISO17025
บริษัท ฮานนา อินสทรูเม้นท์ส (ประเทศไทย) จำกัด
ผู้ผลิตเครื่องมือวัดชั้นนำ
“เพราะเราเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ”
WITH GREAT PRODUCTS, COME GREAT RESULTS.
Email Addresses
info@hannathaicom
CONTACT US
Line : @hannathailand
FB : HannaThailand