การกำจัดแอมโมเนียจากน้ำเสียโรงงาน | Hanna Instrument

สารประกอบในกลุ่มไนโตรเจน
ถือว่าเป็นสาเหตุหลักที่จะทำให้เกิดการเน่าเสียและสิ่งสกปรกในน้ำ แอมโมเนียจัดเป็นธาตุที่สำคัญในการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ เมื่อปล่อยน้ำเสียที่ปนเปื้อนสารเหล่านี้ลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติส่งผลให้พวกสาหร่ายสีเขียวเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและเมื่อสาหร่ายเหล่านี้ตายจะทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของสารอินทรีย์ในน้ำทำให้แหล่งน้ำนั้นเน่าเสียและเกิดผลกระทบต่อแหล่งน้ำ ดังนั้นจึงควรกำจัดออกก่อนที่จะปล่อยสู่สาธารณะ สำหรับตัวการหลักที่จะก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ คือ แอมโมเนียในน้ำเสีย นั่นเอง

“น้ำเสีย”
คือน้ำที่มีการปนเปื้อนของสารอินทรีย์ เกิดจากกิจกรรมของโรงงานอุตสาหกรรมและบ้านเรือนที่ทิ้งน้ำเสีย ทำให้เกิดสารพิษปนเปื้อนและเป็นอันตราย คุณภาพของน้ำก็เปลี่ยนไป โดยความสกปรกของน้ำเสียเราจะสามารถพิจารณาได้จากทั้งลักษณะทางเคมี ทางชีวภาพ และทางกายภาพ การขยายตัวของโรงงานอุตสาหกรรมทำให้เกิดปัญหา“น้ำเสีย”จากอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ปัญหาการเน่าเสียของแหล่งน้ำซึ่งเกิดจากการปล่อยน้ำทิ้งลงสู่แหล่งน้ำปริมาณมาก ทำให้ค่าความต้องการออกซิเจนเพิ่มมากขึ้น และเป็นผลให้ออกซิเจนในน้ำลดลง ส่งผลกระทบสิ่งมีชีวิตในน้ำเป็นอย่างมาก ดังนั้นการปล่อยน้ำเสียลงสู่สิ่งแวดล้อมจะต้องมีการตรวจสอบคุณภาพของน้ำไม่ให้เกินมาตรฐานการควบคุมการระบายน้ำทิ้ง
หากในแหล่งน้ำมีปริมาณแอมโมเนียอิสระสูงกว่า 1 มิลลิกรัม/ลิตรและฟอสฟอรัสอยู่ในช่วง0.7- 1.1 มิลลิกรัมต่อลิตร จะแสดงความเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องควบคุมปริมาณของสารประกอบไนโตรเจนและฟอสฟอรัสที่เหลือค้างอยู่ในน้ำทิ้งให้คงเหลือปริมาณน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ด้วยวิธีการแลกเปลี่ยนไอออนหลังจากที่ผ่านกระบวนการบำบัดมาแล้ว

การวิเคราะห์หาปริมาณแอมโมเนียในน้ำทิ้ง

สารประกอบไนโตรเจนในบ่อบำบัดน้ำเสียมีด้วยกันหลายรูปแบบ ดังนี้ รูปไนโตรเจนทั้งหมด รูปแอมโมเนีย-ไนโตรเจน รูปสารอินทรีย์-ไนโตรเจน และรูปไนเตรต-ไนโตรเจน โดยมาตรฐานคุณภาพน้ำสำหรับแหล่งน้ำผิวดินกำหนดให้ค่าแอมโมเนียในรูปแอมโมเนีย-ไนโตรเจน ไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัม/ลิตร สำหรับมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งของโรงงานอุตสาหกรรมกำหนดให้ค่าแอมโมเนียในรูป TKN ไม่เกิน 100 มิลลิกรัม/ลิตร หรือขึ้นอยู่กับประเภทของแหล่งน้ำทิ้งจะต้องไม่เกิน 200 มิลลิกรัม/ลิตร และมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งจากอาคารบ้านเรือนควรจะค่าแอมโมเนียในรูป TKN ไม่เกิน 35-40 มิลลิกรัม/ลิตร

      เครื่องมือที่จะช่วยทำให้การวัดค่าแอมโมเนียเป็นเรื่องที่ไม่ยุ่งยาก ประหยัดในเรื่องของงบประมาณเมื่อเทียบกับจะต้องส่งตรวจคุณภาพน้ำบ่อยครั้งก็ถือว่าคุ้มค่าไม่ใช่น้อย แต่อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์หาค่าแอมโมเนียด้วยเครื่องวัดที่อาศัยเทคนิคการวัดปริมาณไอออนแอมโมเนียในน้ำทิ้งก็ยังคงมีข้อจำกัดในเรื่องของสารรบกวนที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำทิ้ง ดังนี้  

      เครื่องวัดค่าแอมโมเนียแบบวัดปริมาณไอออนรุ่น “HI5222” กับหัววัดรุ่น “HI4101” จะเหมาะสมกับการวัดแอมโมเนียในช่วง 0.02–17000 ppm เท่านั้น ออกแบบมาให้ใช้งานในห้องปฏิบัติการ ขั้นตอนการทำงานง่ายเพียงแค่จุ่มวัดในน้ำที่ต้องการจะวัดค่าแอมโมเนีย ใช้งานง่าย และสะดวก แต่อาจจะยุ่งยากในเรื่องการสอบเทียบเครื่องมือก่อนการใช้งาน ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ต้องมีเครื่องมือเพื่อใช้ในการดูแลบ่อบำบัดน้ำเสียของโรงงาน ควบคุมให้ค่าแอมโมเนียเหมาะสมตามมาตรฐานที่กำหนด

 

บริษัท ฮานนา อินสทรูเม้นท์ส (ประเทศไทย) จำกัด

ผู้ผลิตเครื่องมือวัดชั้นนำ

“เพราะเราเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ”

WITH GREAT PRODUCTS, COME GREAT RESULTS.

Email Addresses

shop@hannathaicom

CONTACT US

Line : @hannathailand

FB : HannaThailand