ทำความรู้จัก | ค่าความนำไฟฟ้าของน้ำ (Conductivity)

น้ำเป็นตัวทำละลายที่ดีที่สุด ในอดีตจนถึงปัจจุบันน้ำเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญมากในการดำรงชีวิตทั้งใช้ในการอุปโภคและบริโภค จึงมีความจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบและควบคุมคุณภาพให้มีความสะอาดและปลอดภัยอยู่เสมอ ยังไม่รวมถึงการปลูกผักที่สามารถเจริญเติบโตในน้ำได้หรือที่รู้จักกันในชื่อ ผักไฮโดรโปรนิกส์ ยิ่งจะต้องมีการควบคุมคุณภาพของน้ำโดยเฉพาะ“ค่าการนำไฟฟ้าในน้ำ” (Conductivity) ไม่ให้เกินค่าที่กำหนด โดยปกติในน้ำจะพบสารต่างๆ ที่ละลายอยู่ เช่นแร่ธาตุและสารเคมี สิ่งเหล่านี้เป็นตัวทำละลายที่ละลายในน้ำ Conductivity หรือการนำไฟฟ้า การวัดค่าการนำไฟฟ้าของน้ำซึ่งเกิดจากสารอนินทรีย์ที่ละลายในน้ำ เช่น แอนไอออนของคลอไรด์ ไนเตรต ซัลเฟต และฟอสเฟต (แอนไอออนคือไอออนที่มีประจุลบ) หรือแคทไอออนของโซเดียมแมกนีเซียม เหล็ก และอะลูมิเนียม (แคทไอออนคือไอออนที่มีประจุบวก) หรือกล่าวได้ว่าค่าการนำไฟฟ้าคือค่าที่บ่งบอกความสามารถในการนำไฟฟ้าหรือความสามารถในการยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านน้ำหรือสารละลายนั้นๆ โดยจะขึ้นอยู่กับประจุไฟฟ้าและความเข้มข้นของสารที่ละลายอยู่ในน้ำ เครื่องมือสำหรับวัดค่าการนำไฟฟ้าหรือเรียกว่า EC Meter มีให้เลือกใช้งานหลากหลายประเภท เช่นแบบเครื่องพกพาสะดวก ตัวเครื่องมีขนาดเล็ก ใช้งานง่าย แบบภาคสนาม ตัวเครื่องมาพร้อมหัววัด และแบบตั้งโต๊ะ เหมาะสำหรับเก็บตัวอย่างมาวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการและควบคุมสภาวะแวดล้อมตามมาตรฐานต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริง ซึ่งรายงานผลการวิเคราะห์ในหน่วย µS/cm และ mS/cm ให้เลือกใช้ตามคุณภาพของแต่ละแหล่งน้ำ มาตรฐานคุณภาพน้ำค่าการนำไฟฟ้า (Conductivity) เนื่องจากค่ามาตรฐานของน้ำมีค่าต่ำจึงกำหนดในระดับ µS/cm 1. น้ำจืด/ทะเลสาบ 100 – 2000 µS/cm 2….

การวัดค่าความหวาน | ในอุตสาหกรรม

ในปัจจุบันอุตสาหกรรมด้านอาหารกำลังเติบโตเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น“อาหารสำเร็จรูป” อาหารสด อาหารแช่แข็ง เครื่องปรุงรส เครื่องดื่ม น้ำผลไม้ น้ำสมุนไพรและอื่นๆ ที่มีการจัดจำหน่าย อาหารทุกประเภทล้วนต้องมีการควบคุมรสชาติให้มีความคงที่สม่ำเสมอ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพของอาหาร และหนึ่งในรสชาติที่ต้องควบคุมก็คือ ความหวาน นั่นเอง “ความหวาน” หมายถึงรสชาติพื้นฐานที่คนส่วนใหญ่รับรู้เมื่อรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยน้ำตาล น้ำตาล (Sugar) เป็นสารให้ความหวานจากธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ มีหลายรูปแบบ เช่น น้ำตาลทราย น้ำตาลกรวด น้ำตาลก้อน น้ำตาลปีบ เป็นต้น มีการใช้น้ำตาลเติมลงไปเป็นส่วนผสมของอาหารเกือบทุกชนิด เช่น ขนมหวาน เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์นม เป็นต้น เนื่องจากมีความนิยมมากปัจจุบันจึงมีการผลิตสารให้ความหวานในรูปแบบอื่นๆ เช่น น้ำเชื่อม กลูโคส น้ำเชื่อมฟรักโทส ตลอดจนน้ำตาลเทียมขึ้นเพื่อแทนน้ำตาลทราย น้ำตาลไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลทราย น้ำตาลกลูโคส หรือน้ำตาลฟรักโทส ทั้งที่มีอยู่ในอาหารหรือที่เติมลงไปในกระบวนการผลิตหรือการถนอมอาหารจะเกี่ยวข้องกับลักษณะ คุณภาพ ตลอดจนอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์อาหาร อันเป็นผลมาจากคุณสมบัติของน้ำตาลในด้านเคมี กายภาพ และจุลินทรีย์ การวัดค่าความหวานสามารถวัดค่าออกมาได้เป็นตัวเลขที่บ่งบอกถึงความเข้มข้นของความหวานในหน่วย Brix หรือองศาบริกซ์ (สัญลักษณ์ ˚Bx) คือหน่วยการวัดความหวาน โดยคิดตามปริมาณของน้ำตาลในของเหลว อาหาร…

ค่า EC ในอุตสาหกรรมชุบโลหะ | Hanna Instruments

อุตสาหกรรมชุบโลหะเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานที่เชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยเฉพาะชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์จากโลหะเหล็ก เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ท่อ และข้อต่อกัลวาไนซ์ เครื่องสุขภัณฑ์ที่ทำด้วยโลหะ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องมือช่าง น็อตสกรูกุญแจ ส่วนประกอบของเครื่องจักรกลต่างๆ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมเกษตร อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมเซรามิก อุตสาหกรรมไฟฟ้า อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ “อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์” เป็นต้น การชุบโลหะ หมายถึงการทำให้โลหะชนิดหนึ่งเคลือบอยู่บนผิวของโลหะอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีมานานเพื่อปรับปรุงผิวชิ้นงานให้มีความแข็งแรง เพื่อทนต่อการสึกหรอ การเสียดสี ความร้อน รวมถึงป้องกันการกัดกร่อน การชุบเคลือบเป็นการนำวัสดุมาเคลือบติดกับผิวชิ้นงานได้แก่ การพ่นเคลือบด้วยเปลวความร้อน การชุบเคลือบผิวด้วยไฟฟ้าการเคลือบผิวด้วยไอ กายภาพและไอเคมี การทาสี การเคลือบสารแม่เหล็กลงบนแผ่นดิสก์ การชุบโลหะมีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ คือ เพื่อตกแต่งผลิตภัณฑ์ให้เกิดความสวยงาม แวววาว เพื่อป้องกันการผุกร่อน และยืดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ เช่น การนำไฟฟ้า การสะท้อนแสง ทนทานต่อแรงบิด ช่วยในงานเชื่อมประสานโลหะ ทนทานต่อสารเคมี ความสามารถในการยึดเกาะกับเนื้อยางพารา เพิ่มความแข็งแรง เป็นต้น มลพิษและผลกระทบ การใช้สารเคมีหลายชนิดส่งผลโดยตรงต่อมลพิษ มีมลพิษจากของเสียอันตราย มลพิษทางน้ำ หรือมลพิษทางอากาศในลักษณะกลิ่นหรือไอระเหย…

Posted in Uncategorized

ค่า EC ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร? I Hanna Instruments

ค่า Electrical Conductivity หรือเรียกกันว่า EC คือค่าการนำไฟฟ้าของน้ำ โดยสารประกอบอนินทรีย์ที่ละลายอยู่ในน้ำสามารถแตกตัวเป็นประจุบวกและประจุลบได้ ไอออนอิสระเหล่านี้จะเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี การวัดค่า EC มีความจำเป็นอย่างมากสำหรับอุตสาหกรรมบางประเภท เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ “อุตสาหกรรมโลหะ” ฯลฯ ที่ต้องการใช้น้ำที่มีค่า EC ค่อนข้างต่ำสำหรับการล้างผลิตภัณฑ์หรือผสมสารเคมี โดยวิธีการวัดค่า EC จะช่วยประหยัดทั้งเวลาและลดค่าใช้จ่าย จึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมและยังเป็นตัวแปรที่สำคัญในการกำหนดคุณภาพของชิ้นงาน รวมไปถึงช่วยลดขั้นตอนการทำงานต่างๆ ได้อีกด้วย ดังนั้นค่าการนำไฟฟ้าของน้ำจึงขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของไอออน ซึ่งมาจากไอออนต่างๆ ที่ละลายอยู่ในน้ำ ไม่ว่าจะมาจากความเค็มหรือของแข็งที่ละลายอยู่ในน้ำทั้งหมด สารเคมีต่างๆ หรือโลหะหนักที่เจือปนอยู่ในน้ำทำให้น้ำสามารถนำไฟฟ้าได้ ซึ่งช่วยในการระบุความบริสุทธิ์ของน้ำ ยิ่งน้ำบริสุทธิ์มากเท่าไหร่ค่าการนำไฟฟ้าจะยิ่งต่ำมากเท่านั้น (หรือเท่ากับ 0) เปรียบได้ว่าน้ำกลั่นเป็นฉนวน แต่สำหรับน้ำเค็มนำไฟฟ้าได้ดี การวัดค่า EC ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การวัดค่าการนำไฟฟ้าถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นวิธีที่สามารถวัดปริมาณไอออนในสารละลายได้อย่างรวดเร็วและเชื่อถือได้ เช่น การวัดค่าการนำไฟฟ้าในน้ำเพื่อทำให้ระบบน้ำมีความบริสุทธิ์อย่างต่อเนื่อง และยังมีการใช้งานในอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกมากมาย เช่น 1.) การวัดปริมาณปุ๋ยในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ : เนื่องจากการเติมปุ๋ยลงในน้ำจะทำให้ค่า EC เพิ่มสูงขึ้น 2.) การวัดความบริสุทธิ์ของน้ำ :…

ความกระด้างในน้ำดื่ม | Hanna Instruments

น้ำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิตที่เราใช้สำหรับการดื่มกิน การประกอบอาหาร การชำระร่างกาย รวมไปถึงในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมที่จะช่วยในการพัฒนาประเทศ มีผู้กล่าวไว้ว่าถ้าปราศจากน้ำก็ปราศจากสิ่งมีชีวิต โดยทั่วไปคนสามารถอดอาหารได้หลายสัปดาห์ แต่ถ้าอดน้ำจะเสียชีวิตภายใน 2-3 วัน จากงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่า น้ำมีประโยชน์มากมายแก่ร่างกายของสิ่งมีชีวิต ในร่างกายของเรามีน้ำเป็นองค์ประกอบอยู่มากถึง 70% หรือ 3 ใน 4 ส่วนของร่างกาย ซึ่งในน้ำจะประกอบด้วยแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการ เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม เป็นต้น ถึงแม้ว่าน้ำจะเป็นส่วนประกอบหลักในชีวิตที่ขาดไม่ได้แต่น้ำบางประเภทก็ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของร่างกายได้เช่นกัน อาทิ ความกระด้างของน้ำ หากดื่มน้ำที่มีความกระด้างสูงอาจก่อให้เกิดโรคตามมา รู้จักธรรมชาติของน้ำ องค์ประกอบทางเคมีของน้ำประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจน (H) 2 อะตอม และออกซิเจน (O) 1อะตอม รวมเป็นโมเลกุลของน้ำ (H2O) 1 โมเลกุล และเป็นสารประกอบเดียวที่พบเห็นในธรรมชาติได้ทั้ง 3 สถานะ ทั้งของแข็ง ของเหลว และก๊าซ โดยในแต่ละสถานะจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป คุณสมบัติหนึ่งที่เด่นชัดคือ “น้ำ” เป็นตัวทำละลายที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นน้ำทะเล แหล่งน้ำธรรมชาติทั่วไป น้ำใต้ดิน หรือน้ำฝน ก็มีแร่ธาตุหรือสารอื่นๆ…

Temperature I Process Factor

At the moment, various pathogens have developed more whether new strains of pathogens that occur causing new diseases to follow, some of which can be cured but some of which cannot. by being the primary cause of various pathogens There are most likely many factors, but one of them is most likely the food manufacturing…

Sulfur dioxide (SO2) I determination in wine (Wine)

wine

Sulfur dioxide (SO2), also known as “sulfur,” is a gas that is invisible to the naked eye and has an unpleasant odor. It dissolves well in water and alcohol. It frequently reacts with other substances to form hazardous compounds such as sulfuric acid, which can be extremely corrosive. When touched, it produces a burning sensation…

อุตสาหกรรม กับ การวัด ค่า pH ของนํ้า

ในปัจจุบันทุกโรงงาน หรืออุตสาหกรรม ต่างๆ จะต้องมีการวัดค่า pH ของนํ้า เพื่อลดความสิ้นเปลืองในการใช้สารเคมีต่าง ๆ และการเข้ากระบวนการปล่อยนํ้าเสียลงสู่สาธารณะ การวัดค่า pH ของนํ้า ล้วนสำคัญต่ออุตสาหกรรมของเรามาก การวัดค่า pH ของนํ้า pH ย่อมาจาก (Positive potential of the Hydrogen ions) ใช้บอกความเป็นกรด-ด่างของสสาร ความเข้มข้นของไฮโดรเจนอิออนในน้ำ (Hydrogen or hydronium ion H+ or H3O+ ) ซึ่งเกิดจาก สารที่สามารถแตกตัวให้อนุมูลกรด(H+ )หรือเบส(OH- )ได้ โดยค่า pH จะอยู่ในช่วง 0-14 ถ้าค่า pH น้อยกว่า 7 สารชนิดนั้นจะมีฤทธิ์เป็นกรด และถ้าค่า pH มากกว่า 7 สารชนิดนั้นก็จะมีฤทธิ์เป็นเบสหรือด่างแต่ถ้าค่า pH นั้นมีค่าเท่ากับ 7…