COD หมายถึงปริมาณของออกซิเจนทั้งหมดที่ต้องใช้สำหรับทำปฏิกิริยาเคมี (Oxidation) กับสารอินทรีย์ที่อยู่ในน้ำ ค่า COD เป็นอีกค่าหนึ่งทีบ่งบอกระดับความเน่าเสียหรือความสกปรกของน้ำ ดังนั้นการวิเคราะห์ค่า COD จึงเป็นอีกพารามิเตอร์ที่นิยมวิเคราะห์ควบคู่กับวัดค่า BOD หรืออาจวัดมากกว่าค่า BOD เนื่องจากการวิเคราะห์ค่า COD สามารถวิเคราะห์ได้ผลรวดเร็วภายใน 3 ชั่วโมงเมื่อเปรียบเทียบกับค่า BOD ซึ่งใช้ระยะเวลานานถึง 5 วันในการบ่มในตู้ควบคุมอุณหภูมิ ความสำคัญของระบบบำบัดน้ำเสีย โรงบำบัดน้ำเสียเป็นสถานที่รวบรวมน้ำเสียจากบ้านเรือน แหล่งพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม และสถาบัน เข้าสู่กระบวนการบำบัดแบบต่าง ๆ เพื่อกำจัดสิ่งสกปรกที่อยู่ในน้ำเสีย ให้มีคุณภาพดีขึ้นและไม่ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อแม่น้ำ ลำคลอง แหล่งน้ำธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมโดยรอบ โดยน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วจะถูกระบายลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ หรือบางส่วนยังสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตร อุตสาหกรรมและอื่น ๆ “น้ำ” เป็นแหล่งทรัพยากรที่มีการใช้ซ้ำหลายครั้งจนเป็นวัฏจักร มีการนำไปใช้ในกระบวนการต่าง ๆ จนเข้าสู่กระบวนการบำบัดน้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง ดังนั้นการบำบัดน้ำเสียจึงเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยลดภาระของแหล่งน้ำในการทำความสะอาดตัวเองตามธรรมชาติ รวมถึงช่วยลดมลพิษลงสู่แหล่งน้ำดิบในการผลิตน้ำประปา เครื่องมือหาค่า COD ในน้ำเสีย เป็นการวัดปริมาณออกซิเจนที่ใช้ในการออกซิไดซ์สารอินทรีย์อย่างสมบูรณ์ ค่า COD เป็นค่าดัชนีคุณภาพน้ำที่มีความสำคัญมากสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการควบคุมมลพิษทางน้ำ ทำให้ทราบถึงคุณภาพน้ำเสียจากระบบบำบัดที่จะระบายสู่สิ่งแวดล้อม (COD ไม่ควรเกิน…
โดยปกติแล้วที่ความสูงประมาณสองหมื่นฟุตเหนือพื้นผิวโลกเป็นจุดที่โมเลกุลของน้ำเปลี่ยนสถานะจากไอน้ำเป็นหยดน้ำ และกลายเป็นฝนตกลงมาสู่พื้นโลก ทำให้มนุษย์เราสามารถใช้ประโยชน์จากน้ำในการทำกิจกรรมต่างๆ ได้ ฝนที่เกิดขึ้นจะไหลผ่านพื้นที่รับน้ำบนภูเขาไหลลงสู่แม่น้ำ และมากักเก็บอยู่ที่แหล่งเก็บน้ำ หลังจากที่น้ำนั้นถูกใช้แล้วจะกลายเป็นน้ำเสียไหลลงสู่ท่อน้ำเสีย แหล่งน้ำตามธรรมชาติ หรือถูกส่งไปโรงบำบัดน้ำเสียนั่นเอง ความสำคัญของระบบบำบัดน้ำเสีย โรงบำบัดน้ำเสีย คือพื้นที่รวบรวมน้ำเสียจากทั่วทุกสารทิศ ไม่ว่าจะเป็นจาก“ครัวเรือน” แหล่งพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม ห้างสรรพสินค้า สถานที่ราชการ สถาบันต่างๆ ฯลฯ น้ำเสียเหล่านี้จำเป็นจะต้องผ่านกระบวนการบำบัดแบบต่างๆ เพื่อกำจัดสารปนเปื้อน และสิ่งแปลกปลอมออกจากน้ำ เพื่อให้น้ำมีคุณภาพดีขึ้นสามารถนำไปใช้ในการอุปโภคบริโภคได้ และไม่ส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อมโดยรอบ ในส่วนของน้ำเสียที่ได้รับการบำบัดแล้วจะถูกส่งไปยังแหล่งน้ำสาธารณะ หรืออาจถูกส่งไปใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และทางด้านอื่นๆ ถึงแม้ว่าน้ำจะผ่านการใช้งานหลายต่อหลายครั้ง และสามารถทำความสะอาดตนเองตามวัฏจักรธรรมชาติได้ แต่กระบวนการนี้ก็มีขีดกำจัดของมันเอง ดังนั้นการบำบัดน้ำเสีย จึงเป็นกลไกที่สำคัญอย่างหนึ่งที่จะสามารถช่วยลดภาระการทำความสะอาดธรรมชาติด้วยตนเองของแหล่งน้ำธรรมชาติ และยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อนในระบบผลิตน้ำประปาอีกด้วย การรวบรวมน้ำเสีย ระบบท่อระบายน้ำ หมายถึงการนำน้ำเสียจากแหล่งกำเนิดหลายๆ แห่งไปรวมกันยังจุดที่จะบำบัดน้ำ โดยผ่านท่อระบายน้ำ แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้ ระบบท่อร่วม (Combined System) เป็นระบบที่ใช้ท่อระบายน้ำฝนและน้ำเสียร่วมกัน โดยจะต้องสร้างท่อดักน้ำเสีย (Interceptor) เป็นระยะๆ เพื่อรวบรวมน้ำเสียให้ไหลไปตามท่อรวมไปยังบ่อบำบัดน้ำเสีย ส่วนน้ำฝนจะถูกปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ระบบท่อแยก (Separated System)…