ในสภาวะอากาศที่อยู่รอบตัวของเรา เราสัมผัสกับอากาศตลอดเวลา แม้ว่าเราจะมองไม่เห็นอากาศ โดยอากาศจัดเป็นก๊าซที่อยู่รอบตัวเราประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กจำนวนมากที่เรียกว่า “โมเลกุล” บางครั้งเราสัมผัสกับอากาศที่มีปริมาณไอน้ำอยู่ในอากาศ ในบริเวณที่อากาศมีความชื้นมากแสดงว่าอากาศมีปริมาณไอน้ำปะปนอยู่มาก และในทำนองเดียวกันหากในบริเวณนั้นมีความชื้นน้อยก็แสดงว่ามีปริมาณไอน้ำปะปนอยู่น้อยนั่นเอง ความชื้นของอากาศสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาขึ้นอยู่กับความดันและอุณหภูมิ ณ บริเวณนั้น ความชื้น (Humidity) หรือเรียกว่าปริมาณไอน้ำในอากาศ ซึ่งเกิดจากสารผสมระหว่างไอน้ำกับองค์ประกอบอื่นในอากาศ อาจเกิดจากกระบวนการระเหยของแหล่งน้ำต่างๆ เช่น ทะเล มหาสมุทร เมื่อได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์ก็จะระเหยกลายเป็นไอน้ำลอยสู่ชั้นบรรยากาศ หรือเกิดจากกระบวนการคายน้ำของพืช รวมถึงกิจกรรมทางน้ำที่เกิดจากมนุษย์ โดยนิยามในแง่ของปริมาณน้ำในสารผสมนี้ว่า “ความชื้นสัมบูรณ์” ในชีวิตประจำวันเรา คำว่า “ความชื้นในอากาศ” มักหมายถึง ความชื้นสัมพัทธ์มากกว่า โดยแสดงผลเป็นร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ในการทำนายสภาพอากาศ ค่าความชื้นในอากาศนิยมวัดกัน 2 แบบดังนี้ การวัดความชื้นสัมพัทธ์ (Relative humidity) คือการวัดอัตราส่วนร้อยละของปริมาณไอน้ำที่มีอยู่จริงต่อมวลของไอน้ำอิ่มตัว แสดงหน่วยการวัดเป็น % โดยอากาศอิ่มตัวจะมีค่าความชื้นสัมพัทธ์อยู่ที่ 100% ยกตัวอย่างเช่นช่วงฝนตกใหม่ๆ อาจจะพบความชื้นในอากาศ 100% การวัดความชื้นสัมบูรณ์ (Absolute humidity) คือการวัดปริมาณมวลไอน้ำในอากาศ (กรัม) ต่อปริมาตรของไอน้ำในอากาศ (ลูกบาศก์เมตร) ความชื้นและการวัดความชื้นในอากาศมีความสำคัญอย่างไร ? ปริมาณความชื้นในอากาศมีความสำคัญในชีวิตประจำวันหลายๆ ด้านอย่างไม่น่าเชื่อ…