การควบคุมคุณภาพน้ำสำหรับระบบบอยเลอร์และคูลลิ่งทาวเวอร์ เป็นสิ่งสำคัญที่โรงงานอุตสาหกรรมการผลิตควรจะต้องศึกษาเรียนรู้ให้เข้าใจถึงกระบวนการควบคุมดูแลระบบให้เป็นไปตามที่มาตรฐานกำหนดเพื่อควบคุมงบประมาณ ความปลอดภัยและประสิทธิภาพการทำงานที่ดี ซึ่งปัญหาหลักมักเกิดจากคุณภาพของน้ำก่อนเข้าระบบ จึงทำให้มีการเพิ่มกระบวนการเตรียมน้ำที่มีคุณภาพดีก่อน เพราะแหล่งน้ำในแต่ละพื้นที่มีสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ต่างกันส่งผลให้คุณภาพน้ำก็ต่างกันด้วย ระบบบอยเลอร์ คือเครื่องจักรผลิตไอน้ำแบบหม้อต้มที่นับว่ามีบทบาทอย่างมากและเป็นหัวใจสำคัญของโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต ดังนั้นจึงต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเข้ามาดูแลเพื่อควบคุมระบบ โดยปัจจัยที่จะก่อให้เกิดปัญหา คือการควบคุมคุณภาพของน้ำในระบบ เนื่องมาจากชั้นหินที่สะสมและก่อตัวขึ้นจนหนาทำให้ความร้อนถูกถ่ายเทไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้ความต้องการใช้ไอน้ำไม่เพียงพอต่อการผลิต จนต้องเกิดการเพิ่มพลังงานเข้าไปมากกว่าปกติ การเร่งไฟเรื่อยๆ จะทำให้โลหะภายในอ่อนตัวจนรับแรงดันไอน้ำไม่ไหวและเกิดการระเบิดในที่สุด รวมถึงน้ำส่งผลต่อการเกิดสนิมทำให้เกิดการกัดกร่อนบนผิวโลหะ ระบบคูลลิ่งทาวเวอร์ สามารถใช้ประโยชน์ในด้านการระบายความร้อนจากอุณหภูมิสูงของเครื่องจักร ซึ่งเกิดจากการเสียดสีจนทำให้เกิดอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงสูงสุด ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรต่ำลง แต่ในขณะเดียวกันถ้าน้ำคูลลิ่งทาวเวอร์ถูกป้อนเข้าไปเพื่อระบายความร้อน ก็จะนำพาเอาความร้อนออกมาด้วย และพบว่าน้ำจะได้รับพลังงานจากความร้อนทำให้เกิดแร่ธาตุต่างๆ เช่นแคลเซียม ไบคาบอร์เนตละลายอยู่ในน้ำเจือปนออกมาด้วย เมื่อวัดค่า TDS และความกระด้างพบว่าค่าสูงเกิดเป็นตะกรันตามพื้นผิวตลอดแนวที่น้ำไหลผ่าน จนในที่สุดทำให้เกิดการปิดกั้นการระบายความร้อน และผลที่ตามมาเมื่อสภาวะที่อุณหภูมิคงที่จะเกิดคราบหรือกลุ่มแบคทีเรียและจุลชีพเล็กๆ สะสมจำนวนมาก “การติดตั้งระบบบอยเลอร์เป็นสิ่งที่ดีช่วยประหยัดพลังงานมากและช่วยรักษ์โลก ซึ่งในปัจจุบันนิยมติดตั้งกันอย่างกว้างขวางสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมผลิต” ข้อมูลหม้อน้ำในประเทศไทยแยกตามประเภทอุตสาหกรรม ดังนี้ ประเภทอุตสาหกรรม จำนวนหม้อน้ำ (ลูก) สัดส่วน (%) อุตสาหกรรมกระดาษ 342 3.88 อุตสาหกรรมเคมี 1,389 15.76 อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์โลหะ 675 7.66 อุตสาหกรรมไม้ 549…
Uncategorized
คลอรีนสำคัญอย่างไร | ทำไมต้องใส่ในสระว่ายน้ำ ?
ในชีวิตประจำวันของเรามักพบ คลอรีน (Chlorine) ในรูปแบบต่างๆ เช่น น้ำประปาที่เราใช้อยู่ สระว่ายน้ำ รวมถึงสปาที่มักจะมีการใส่คลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อโรค โรงบำบัดน้ำเสียเพื่อควบคุมคุณภาพน้ำก่อนปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม ฯลฯ ซึ่งคลอรีนจะถูกนำมาใช้อย่างเหมาะสมในการฆ่าเชื้อโรค ควบคุมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ แต่ถ้ามีปริมาณที่มากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายได้ คลอรีน เป็นสารเคมีที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นทางด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม ตลอดจนสาธารณสุข และที่เห็นได้ชัดเจนคือ การนำมาเป็นสารในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ของขบวนการผลิตน้ำดื่ม น้ำสำหรับอุปโภคบริโภค น้ำใช้อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ฟาร์มเลี้ยงปศุสัตว์ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ ในตลาดสด และในครัวเรือน รวมทั้งใช้ในกระบวนการบำบัดน้ำเสียจากแหล่งต่างๆ และที่สำคัญอย่างยิ่งใน สระว่ายน้ำ ทำไมสระว่ายน้ำจึงต้องใส่คลอรีน ? การดูแลควบคุมคุณภาพของน้ำในสระว่ายน้ำเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้ดูแลสระว่ายน้ำหรือเจ้าของสระว่ายน้ำต้องให้ความใส่ใจ เพราะบางครั้งหากเติมคลอรีนในปริมาณที่มากเกินพอลงในน้ำเพื่อให้ฆ่าเชื้อโรคจะทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย เช่น ส่งผลให้รู้สึกแสบตา เกิดความระคายเคืองผิว ไม่เพียงเท่านั้นการสัมผัสกับสารดังกล่าวผ่านการสูดดมหรือรับประทานในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต แต่หากใส่ในปริมาณที่น้อยเกินไปก็จะทำให้ไม่สามารถฆ่าเชื้อโรคที่อยู่ในสระว่ายน้ำให้หมดไปได้ ประเภทของคลอรีน คลอรีนแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้ 1. คลอรีนชนิดก๊าซ (Chlorine Gas) ก๊าซคลอรีนเป็นคลอรีนในสถานะก๊าซ นิยมใช้กันมากในกระบวนการผลิตน้ำประปา 2.คลอรีนชนิดน้ำ (Chlorine Liquid) เป็นคลอรีนที่อยู่ในรูปสารละลาย นิยมใช้กันมากสำหรับการฆ่าเชื้อโรคในลักษณะต่างๆ…