Did you know…? Wine is thought to be the world’s first beverage. Because evidence of wine production dating back 3,700 years has been discovered in northern Israel. It’s where 500 gallons of wine, or approximately 3000 bottles, are stored in vats. Have you ever wondered why wines taste so smooth, milky, or buttery when they’re…
การควบคุมคุณภาพน้ำสำหรับฟาร์มกุ้งและปลา คุณภาพน้ำมีความสำคัญเป็นอับดับแรกสำหรับการเลี้ยงกุ้งและปลา ถ้าคุณภาพน้ำไม่ดีก็จะทำให้สัตว์น้ำได้รับผลกระทบต่อสภาพร่างกาย การเจริญเติบโต การสืบพันธุ์ อัตราการอยู่รอดลดลง และเกิดความเครียดทางชีววิทยา ดังนั้นการเข้าใจถึงคุณภาพน้ำจึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อสิ่งแวดล้อมของน้ำสำหรับสัตว์น้ำ และเพื่อให้กุ้งและปลาสามารถดำรงชีวิตได้ดี กล่าวได้ว่า “คุณสมบัติของน้ำ” หมายถึงคุณสมบัติทางฟิลิกส์และเคมี ซึ่งมีความสัมพันธ์กัน รวมถึงมีความสำคัญต่อการเพาะเลี้ยงกุ้งและปลาด้วย โดยมีผลต่อการเจริญเติบโตช้าหรือเร็ว การตาย การเกิดโรคระบาด ตลอดจนมีผลต่อระบบสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต เป็นต้น คุณสมบัติทางกายภาพของน้ำมีมากมายแต่ถ้าจะพูดถึงที่มีต่อการเพาะเลี้ยงก็มีไม่มากนักแต่อย่างไรก็ตามสามารถที่จะควบคุมตามที่ต้องการได้ คุณสมบัติของน้ำที่มีผลต่อการเลี้ยงกุ้งและปลา 1. ความเป็นกรด-ด่าง หมายถึงการวัดความเข้มข้นของไฮโดรเจนไอออนและไฮดรอกไซด์ที่มีอยู่ในน้ำเพื่อแสดงให้ทราบว่าคุณภาพของน้ำอยู่ในสภาวะกรดหรือด่าง โดยตามธรรมชาติจะขึ้นอยู่กับภูมิประเทศ สิ่งแวดล้อมบริเวณรอบ เช่น ลักษณะของพื้นดินและหิน ตลอดจนการใช้ที่ดินบริเวณนั้น รวมถึงอิทธิพลจากสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำ เช่น แพลงก์ตอนและจุลินทรีย์ การที่พืชจะได้รับธาตุอาหารได้ดีหรือไม่ดีนั้นจะขึ้นอยู่กับค่ากรด-ด่าง หากพบว่าค่า pH ต่ำกว่า 4.5 พืชน้ำจะไม่สามารถเจริญเติบโตได้ เช่นเดียวกันกับหากค่า pH สูงหรือต่ำเกินมาตรฐานก็จะทำให้สัตว์น้ำไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ โดยกำหนดได้ ดังนี้ ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ผลที่ตามมา 4.0 หรือต่ำกว่า อันตรายส่งผลให้สัตว์น้ำตายได้ 4.0 – 6.0 สัตว์น้ำบางชนิดตายได้ หรือเกิดการเจริญเติบโตช้า 6.5…
Uncategorized
การกำจัดแอมโมเนียจากน้ำเสียโรงงาน | Hanna Instrument
สารประกอบในกลุ่มไนโตรเจน ถือว่าเป็นสาเหตุหลักที่จะทำให้เกิดการเน่าเสียและสิ่งสกปรกในน้ำ แอมโมเนียจัดเป็นธาตุที่สำคัญในการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ เมื่อปล่อยน้ำเสียที่ปนเปื้อนสารเหล่านี้ลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติส่งผลให้พวกสาหร่ายสีเขียวเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและเมื่อสาหร่ายเหล่านี้ตายจะทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของสารอินทรีย์ในน้ำทำให้แหล่งน้ำนั้นเน่าเสียและเกิดผลกระทบต่อแหล่งน้ำ ดังนั้นจึงควรกำจัดออกก่อนที่จะปล่อยสู่สาธารณะ สำหรับตัวการหลักที่จะก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ คือ แอมโมเนียในน้ำเสีย นั่นเอง “น้ำเสีย” คือน้ำที่มีการปนเปื้อนของสารอินทรีย์ เกิดจากกิจกรรมของโรงงานอุตสาหกรรมและบ้านเรือนที่ทิ้งน้ำเสีย ทำให้เกิดสารพิษปนเปื้อนและเป็นอันตราย คุณภาพของน้ำก็เปลี่ยนไป โดยความสกปรกของน้ำเสียเราจะสามารถพิจารณาได้จากทั้งลักษณะทางเคมี ทางชีวภาพ และทางกายภาพ การขยายตัวของโรงงานอุตสาหกรรมทำให้เกิดปัญหา“น้ำเสีย”จากอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ปัญหาการเน่าเสียของแหล่งน้ำซึ่งเกิดจากการปล่อยน้ำทิ้งลงสู่แหล่งน้ำปริมาณมาก ทำให้ค่าความต้องการออกซิเจนเพิ่มมากขึ้น และเป็นผลให้ออกซิเจนในน้ำลดลง ส่งผลกระทบสิ่งมีชีวิตในน้ำเป็นอย่างมาก ดังนั้นการปล่อยน้ำเสียลงสู่สิ่งแวดล้อมจะต้องมีการตรวจสอบคุณภาพของน้ำไม่ให้เกินมาตรฐานการควบคุมการระบายน้ำทิ้งหากในแหล่งน้ำมีปริมาณแอมโมเนียอิสระสูงกว่า 1 มิลลิกรัม/ลิตรและฟอสฟอรัสอยู่ในช่วง0.7- 1.1 มิลลิกรัมต่อลิตร จะแสดงความเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องควบคุมปริมาณของสารประกอบไนโตรเจนและฟอสฟอรัสที่เหลือค้างอยู่ในน้ำทิ้งให้คงเหลือปริมาณน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ด้วยวิธีการแลกเปลี่ยนไอออนหลังจากที่ผ่านกระบวนการบำบัดมาแล้ว การวิเคราะห์หาปริมาณแอมโมเนียในน้ำทิ้ง สารประกอบไนโตรเจนในบ่อบำบัดน้ำเสียมีด้วยกันหลายรูปแบบ ดังนี้ รูปไนโตรเจนทั้งหมด รูปแอมโมเนีย-ไนโตรเจน รูปสารอินทรีย์-ไนโตรเจน และรูปไนเตรต-ไนโตรเจน โดยมาตรฐานคุณภาพน้ำสำหรับแหล่งน้ำผิวดินกำหนดให้ค่าแอมโมเนียในรูปแอมโมเนีย-ไนโตรเจน ไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัม/ลิตร สำหรับมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งของโรงงานอุตสาหกรรมกำหนดให้ค่าแอมโมเนียในรูป TKN ไม่เกิน 100 มิลลิกรัม/ลิตร หรือขึ้นอยู่กับประเภทของแหล่งน้ำทิ้งจะต้องไม่เกิน 200 มิลลิกรัม/ลิตร และมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งจากอาคารบ้านเรือนควรจะค่าแอมโมเนียในรูป TKN ไม่เกิน 35-40 มิลลิกรัม/ลิตร เครื่องมือที่จะช่วยทำให้การวัดค่าแอมโมเนียเป็นเรื่องที่ไม่ยุ่งยาก…
Uncategorized
ปริมาณออกซิเจนในน้ำสำคัญอย่างไร ❘ Hanna Instruments
คุณภาพน้ำที่ดีเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน้ำ หากคุณภาพน้ำไม่ดีก็ทำให้ไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ ในทางกลับกันหากแหล่งน้ำนั้นมีคุณภาพของน้ำที่อุดมสมบูรณ์ก็จะส่งผลให้การเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตเป็นไปตามวัฏจักร โดยปัจจัยที่บ่งบอกถึงคุณภาพน้ำได้นั้นคือ“ปริมาณออกซิเจนในน้ำ”ที่เพียงพอ ดังนั้นแหล่งน้ำที่มีความสมบูรณ์จะต้องพบปริมาณออกซิเจนที่สูง หากพบว่าปริมาณออกซิเจนต่ำกว่า 5.0 มิลลิกรัมต่อลิตร จะส่งผลให้เกิดความเครียดต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ ยิ่งพบค่าต่ำมากจะทำให้ไม่สามารถอาศัยอยู่ในน้ำได้เพราะเหตุนี้ปริมาณออกซิเจนในน้ำจึงสำคัญ Dissolved Oxygen หรือที่รู้จักกันว่า DO คือปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำทั้งหมด สามารถวัดได้ในหน่วยมิลลิกรัมต่อลิตรหรือ % อิ่มตัวของออกซิเจน โดยปกติแหล่งของออกซิเจนเหล่านี้ได้มาจากบรรยากาศ การสังเคราะห์แสงของพืชที่อาศัยอยู่ในน้ำ หรือจากขบวนการเคมีอื่นๆ ในน้ำโดยแหล่งน้ำบางแหล่งมีแร่ธาตุทำปฏิกิริยากันทำให้เกิดออกซิเจนละลายในน้ำ แหล่งน้ำตามธรรมชาติจะพบค่า DO อยู่ที่ประมาณ 5-7 มิลลิกรัมต่อลิตร (mg/L) โดยค่าน้ำที่ดีจะต้องพบค่า DO อยู่ที่ 5-8 mg/L ส่วนน้ำเสียจะพบค่า DO อยู่ที่ 3 mg/L หรือต่ำกว่า จากข้างต้นจะเห็นว่าปริมาณออกซิเจนในน้ำมีความสำคัญโดยตรงต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ ปริมาณออกซิเจนสามารถพบในอากาศและน้ำซึ่งมีออกซิเจนเป็นองค์ประกอบประมาณ 20.9% โดยปัจจัยหลักจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ความดันบรรยากาศ และความเค็ม พบว่าออกซิเจนจะละลายในน้ำได้น้อยเมื่ออุณหภูมิสูง เช่นเดียวกับน้ำที่มีความเค็มสูงก็จะมีปริมาณออกซิเจนละลายอยู่น้อย แต่จะมีความสัมพันธ์แบบผกผันกับความดันบรรยากาศ เพราะเมื่อความดันบรรยากาศสูงจะทำให้ปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำได้ดีขึ้นนั่นเอง ประโยชน์ของการวัดปริมาณออกซิเจนในน้ำสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ การวัดปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำมีความสำคัญอย่างมากต่อโรงงานอุตสาหกรรมบำบัดน้ำเสียและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เพราะการวัดปริมาณออกซิเจนในน้ำเป็นการตรวจสอบคุณภาพน้ำที่มีผลโดยตรงการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ และหากปล่อยน้ำเสียที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการบำบัดสู่สาธารณะจะทำให้เกิดกลิ่นเน่าเหม็นในชุมชนบริเวณใกล้เคียง…
การควบคุมคุณภาพน้ำสำหรับระบบบอยเลอร์และคูลลิ่งทาวเวอร์ เป็นสิ่งสำคัญที่โรงงานอุตสาหกรรมการผลิตควรจะต้องศึกษาเรียนรู้ให้เข้าใจถึงกระบวนการควบคุมดูแลระบบให้เป็นไปตามที่มาตรฐานกำหนดเพื่อควบคุมงบประมาณ ความปลอดภัยและประสิทธิภาพการทำงานที่ดี ซึ่งปัญหาหลักมักเกิดจากคุณภาพของน้ำก่อนเข้าระบบ จึงทำให้มีการเพิ่มกระบวนการเตรียมน้ำที่มีคุณภาพดีก่อน เพราะแหล่งน้ำในแต่ละพื้นที่มีสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ต่างกันส่งผลให้คุณภาพน้ำก็ต่างกันด้วย ระบบบอยเลอร์ คือเครื่องจักรผลิตไอน้ำแบบหม้อต้มที่นับว่ามีบทบาทอย่างมากและเป็นหัวใจสำคัญของโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต ดังนั้นจึงต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเข้ามาดูแลเพื่อควบคุมระบบ โดยปัจจัยที่จะก่อให้เกิดปัญหา คือการควบคุมคุณภาพของน้ำในระบบ เนื่องมาจากชั้นหินที่สะสมและก่อตัวขึ้นจนหนาทำให้ความร้อนถูกถ่ายเทไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้ความต้องการใช้ไอน้ำไม่เพียงพอต่อการผลิต จนต้องเกิดการเพิ่มพลังงานเข้าไปมากกว่าปกติ การเร่งไฟเรื่อยๆ จะทำให้โลหะภายในอ่อนตัวจนรับแรงดันไอน้ำไม่ไหวและเกิดการระเบิดในที่สุด รวมถึงน้ำส่งผลต่อการเกิดสนิมทำให้เกิดการกัดกร่อนบนผิวโลหะ ระบบคูลลิ่งทาวเวอร์ สามารถใช้ประโยชน์ในด้านการระบายความร้อนจากอุณหภูมิสูงของเครื่องจักร ซึ่งเกิดจากการเสียดสีจนทำให้เกิดอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงสูงสุด ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรต่ำลง แต่ในขณะเดียวกันถ้าน้ำคูลลิ่งทาวเวอร์ถูกป้อนเข้าไปเพื่อระบายความร้อน ก็จะนำพาเอาความร้อนออกมาด้วย และพบว่าน้ำจะได้รับพลังงานจากความร้อนทำให้เกิดแร่ธาตุต่างๆ เช่นแคลเซียม ไบคาบอร์เนตละลายอยู่ในน้ำเจือปนออกมาด้วย เมื่อวัดค่า TDS และความกระด้างพบว่าค่าสูงเกิดเป็นตะกรันตามพื้นผิวตลอดแนวที่น้ำไหลผ่าน จนในที่สุดทำให้เกิดการปิดกั้นการระบายความร้อน และผลที่ตามมาเมื่อสภาวะที่อุณหภูมิคงที่จะเกิดคราบหรือกลุ่มแบคทีเรียและจุลชีพเล็กๆ สะสมจำนวนมาก “การติดตั้งระบบบอยเลอร์เป็นสิ่งที่ดีช่วยประหยัดพลังงานมากและช่วยรักษ์โลก ซึ่งในปัจจุบันนิยมติดตั้งกันอย่างกว้างขวางสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมผลิต” ข้อมูลหม้อน้ำในประเทศไทยแยกตามประเภทอุตสาหกรรม ดังนี้ ประเภทอุตสาหกรรม จำนวนหม้อน้ำ (ลูก) สัดส่วน (%) อุตสาหกรรมกระดาษ 342 3.88 อุตสาหกรรมเคมี 1,389 15.76 อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์โลหะ 675 7.66 อุตสาหกรรมไม้ 549…
ก่อนที่จะเรียนรู้วิธีการใช้งานเครื่องวัด EC เราควรทราบเกี่ยวกับค่า EC เบื้องต้นก่อน “ค่าการนำไฟฟ้า”หรือ EC คือการวัดความสามารถในการเหนี่ยวนำไฟฟ้าต่อหน่วยพื้นที่ที่กำหนดในระดับอะตอมหรือไอออน เป็นการวัดปริมาณประจุรวมในน้ำทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตามเป็นเพียงแค่วัดปริมาณประจุรวมเท่านั้นไม่สามารถแบ่งแยกชนิดของประจุได้ ค่าการนำไฟฟ้าจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยที่แตกต่างกัน คืออุณหภูมิและชนิดของประจุที่ละลายอยู่ในน้ำ สำหรับหน่วยในการวัดค่า EC จะนิยมรายงานค่าในหน่วย mS/cm และ µS/cm ซึ่งเป็นหน่วยที่รองรับในระดับสากล มักจะเกิดความเข้าใจผิดเสมอเกี่ยวกับการหาปริมาณเกลือโดยการวัดค่า EC ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเป็นวิธีที่ไม่เหมาะสมหากในตัวอย่างนั้นมีส่วนผสมอื่นๆ รวมอยู่ด้วย เนื่องจากการวัดค่าการนำไฟฟ้าไม่สามารถแยกชนิดของประจุได้ จึงไม่เหมาะกับวัดตัวอย่างที่มีความซับซ้อน ความสัมพันธ์ระหว่างค่า EC และค่าความต้านทานไฟฟ้าเป็นส่วนกลับของกันและกัน ดังนั้นค่าความต้านทาน คือการวัดความสามารถในยับยั้งกระแสไฟฟ้า โดยทั่วไปมักจะใช้ในการวัดหาปริมาณไอออนที่มีปริมาณต่ำในน้ำบริสุทธิ์ ซึ่งหากน้ำที่มีความบริสุทธิ์มากๆ ค่า EC จะต่ำและในทางกลับกันค่าความต้านทานจะต้องสูง (>18MΩ) ชนิดของหัววัดค่า EC แบ่งออกเป็น 3 ชนิดด้วยกัน ดังนี้ 1. Two Electrode probe อาศัยหลักการแอมเพอโรเมตริก เหมาะสมกับตัวอย่างน้ำสะอาดที่มีค่า EC ไม่เกิน 5 mS/cm 2. Four ring…
Uncategorized
การวัดค่า pH ในน้ำผลไม้ ด้วยหัววัดเซ็นเซอร์
น้ำผักผลไม้เป็นเครื่องดื่มที่อุดมไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุหลายชนิด จึงได้รับความนิยมในหมู่ผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ จากความต้องการน้ำผลไม้ที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้เหล่าผู้ผลิตต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์และวิธีการผลิตรูปแบบใหม่ที่ดีกว่าเดิม องค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกาแนะนำให้อ้างอิงตามมาตรฐานการผลิต HACCP สำหรับการผลิตน้ำผลไม้ทั้งหมด โดยน้ำผลไม้ถูกนิยามว่าเป็น ของเหลวหรือสารสกัดที่มาจากผักผลไม้โดยการคั้น หรือปั่นผลไม้ ปราศจากการใช้ความร้อน และตัวทำละลายและสามารถรับประทานได้ ดังนั้นน้ำผลไม้ที่ถูกจัดจำหน่ายรวมไปถึงการถูกนำไปใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องดื่มชนิดอื่น จำเป็นต้องผ่านการดำเนินการผลิตตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ น้ำผลไม้เป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่ไม่สามารถเก็บรักษาได้นาน เนื่องจากการเน่าเสียที่เกิดจากแบคทีเรีย และการทำงานของเอนไซม์ตามธรรมชาติ ดังนั้นการถนอมอาหารจึงเป็นขั้นตอนสำคัญในการผลิตน้ำผลไม้ วิธีการหนึ่งที่ใช้สำหรับการเก็บรักษาและแปรรูปน้ำผลไม้คือ การพาสเจอไรส์ โดยใช้ความร้อนสูงในระยะเวลาสั้น (HTST) เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์รักษาความสดใหม่ เพื่อสีสันและรสชาติที่ดีขึ้น การวัดค่า pH ในน้ำผลไม้ จึงเป็นพารามิเตอร์หลักที่จะช่วยให้เราสามารถถนอมอาหารได้ ความสำคัญของการวัดค่า pH ในน้ำผลไม้ ปัจจัยที่ส่งผลต่ออายุการเก็บรักษาของน้ำผลไม้คือ ค่า pH และการทำปฎิกิริยาของน้ำซึ่งมีอิทธิพลมากที่สุด ค่าความแปรปรวนของ pH อาจส่งผลต่อรสชาติ และอายุการเก็บรักษา โดยทั่วไปน้ำผลไม้จะมีค่า pH ต่ำอยู่ที่ประมาณ 2.0 ถึง 4.5 ค่า pH ที่ต่ำของน้ำผลไม้เกิดจากกรดอินทรีย์ที่มีอยู่แตกต่างกันไปตามประเภทของน้ำผลไม้ ในกระบวนการผลิตน้ำผลไม้ กฎ 5-ล็อก เพื่อลดจุลินทรีย์ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมีความจำเป็น จากข้อบังคับขององค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ดังนั้นขั้นตอนการประมวลผลผ่านความร้อนที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัตินี้…
หลายๆ คนคงเคยเข้าครัวทำอาหารกัน เวลาที่เราจะสร้างสรรค์เมนูผัด หรือเมนูทอด ก็มักจะต้องใช้น้ำมันเป็นส่วนประกอบหลักในการรังสรรค์เมนู แต่บางครั้งเราก็พบว่า น้ำมันที่เราซื้อมาเก็บไว้ใช้นั้นเกิดกลิ่นหืนของน้ำมัน ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ เรามาหาคำตอบกัน ? ไขมันเป็นอาหารหลักของมนุษย์โดยได้จากพืชและสัตว์ เมื่ออยู่ในสภาพของแข็ง ณ อุณหภูมิห้องเรียกว่า “ไขมัน” และที่อยู่ในสภาพของเหลว ณ อุณหภูมิห้องเรียกว่า “น้ำมัน” ไขมันเป็นตัวช่วยในการดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค การย่อยไขมันภายในร่างกายเป็นไปได้ช้ากว่าโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต จึงทำให้รู้สึกอิ่มนาน รวมถึงรสชาติของอาหารจะดีขึ้นถ้าใช้ไขมันปรุง ไขมันยังเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญ ส่วนที่สะสมไว้ภายในร่างกายและจะถูกนำมาใช้เป็นพลังงานเมื่อร่างกายต้องการ ไขมันบางชนิดยังให้กรดไขมันจำเป็น ซึ่งร่างกายขาดไม่ได้ในการสร้างเซลล์และโปรสตาแกลนดิน น้ำมันและไขมันธรรมชาติประกอบด้วยไตรกลีเซอไรด์หลายชนิด ลักษณะของไขมันขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของไตรกลีเซอไรด์ และลักษณะของไตรกลีเซอไรด์แต่ละชนิดก็ขึ้นอยู่กับกรดไขมันชนิดต่างๆ ที่มารวมกัน ไขมันที่เราใช้ในการประกอบอาหารจะสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือกรดไขมันอิ่มตัว เช่นน้ำมันมะพร้าว เนยจากไขมันสัตว์ เป็นต้น และกรดไขมันไม่อิ่มตัว เช่นน้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น โดยกรดไขมันทั้ง 2 ประเภทแตกต่างกันที่จำนวนพันธะคู่ระหว่างธาตุคาร์บอน ดังนั้นกรดไขมันที่อิ่มตัวมากๆ จะมีจำนวนพันธะคู่น้อยนั่นเอง กลิ่นหืนของน้ำมัน เป็นกลิ่นผิดปกติของน้ำมันและไขมัน เป็นการเสื่อมเสียของอาหาร…
Uncategorized
ความขุ่นของเบียร์ | Hanna instruments
“ความขุ่นของเบียร์”คือปัจจัยที่เป็นตัวแปรสำคัญในการควบคุมคุณภาพของกระบวนการผลิตเบียร์คือ สีของ“เบียร์” เริ่มต้นครั้งแรกประมาณปลายทศวรรษ 1880 หลังจากที่ J.W. Lovibond ได้พัฒนาแก้วสีขึ้นเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบตัวอย่างเบียร์เพื่อกำหนดค่าตัวเลขจากการประมาณทางสายตา หรือที่รู้จักกันว่า “Degrees Lovibond” แต่ถึงอย่างไรก็ตามวิธีการนี้ยังคงมีข้อจำกัดในเรื่องของการรับรู้ค่าสีที่แตกต่างกันของแต่ละกลุ่มบุคคล จนกระทั่งประมาณทศวรรษ 1950 ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ ร่วมด้วยหน่วยงาน American Society of Brewing Chemists ก็ได้นำระบบนี้มาพัฒนาใหม่ในชื่อระบบสี “Standard Reference Method (SRM)” และได้ถูกพัฒนาในแถบยุโรปอีกเช่นเดียวกันโดยหน่วยงาน European Brewing Convention (EBC) ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับส่วนประกอบของเบียร์กันก่อน โดยเบียร์ทำมาจากส่วนประกอบหลัก ได้แก่ มอลต์ (Malt) เป็นเมล็ดธัญพืช มอลต์แต่ละแบบจะส่งผลต่อสีและรสชาติของเบียร์ โดยนิยมใช้จากข้าวบาร์เลย์ เพราะมีปริมาณเอนไซม์อะไมเลสสูงส่งผลให้กระบวนการแตกตัวของแป้งเป็นน้ำตาลเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ยีสต์ (Yeast) ทำหน้าที่เปลี่ยนน้ำตาลในมอลต์ให้เป็นแอลกอฮอล์และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ (Water) เป็นตัวทำละลายในเบียร์มากถึง 95% ฮอปส์ (hops) เป็นพืชที่ให้กลิ่นหอมและรสขม มีหลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งให้รสชาติที่แตกต่างกันออกไป เมื่อนำฮอปส์ไปต้มจะเกิดเป็นกรดฮอปส์ การเลือกเครื่องมือที่ทันสมัยและให้ผลการวัดที่ถูกต้องแม่นยำย่อมเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในกระบวน“การผลิตเบียร์” การวัดค่าสีและความขุ่นของเบียร์ไม่ใช่แค่เรื่องของรสชาติแต่ยังบ่งบอกถึงคุณภาพของเบียร์และความแตกต่างในกระบวนการผลิตอีกด้วย…
Measuring Concentration Chemicals, Measuring Concentration Chemicals, Measuring Concentration Chemicals, Measuring Concentration Chemicals, Measuring Concentration Chemicals, Measuring Concentration Chemicals, Measuring Concentration Chemicals, Measuring Concentration Chemicals, Measuring Concentration Chemicals, Measuring Concentration Chemicals
การวัดค่าความขุ่นและสีของเบียร์ | Hanna instruments
ในปัจจุบันเบียร์ที่ขายตามห้างสรรพสินค้าหรือตามท้องตลาดมีให้เลือกสรรหลากหลายแบรนด์ ซึ่งแต่ละแบรนด์จะให้สีและรสชาติที่แตกต่างกันออกไป นอกจากนั้นยังมีอีกหลายปัจจัยที่ผู้ดื่มจะต้องพิจารณาไม่ว่าจะเป็นความขม ความหลากหลายของรสชาติ ความเข้มข้นของปริมาณแอลกอฮอล์ ฯลฯ เพราะมาตรฐานสำหรับคุณลักษณะเหล่านี้จะสามารถช่วยกำหนดคุณภาพโดยรวมของเบียร์ให้คงความสม่ำเสมอได้ ดังนั้นการวัดค่าสีและความขุ่นของเบียร์จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับผู้ประกอบการผลิตเบียร์ เครื่องมือหลักๆ ที่ใช้วัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเบียร์จะมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ 1.การวัดค่าแอลกอฮอล์โดยใช้ Hydrometer การวัดความหนาแน่นของเหลว (density) ที่มีลักษณะเป็นแท่งแก้วหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การวัดความถ่วงจำเพาะ โดยอาศัยหลักการดังนี้ เมื่อน้ำตาลละลายในน้ำจะตกลงสู่ก้นภาชนะ จากนั้นใช้ไฮโดรมิเตอร์เข้าไปจุ่มในสารละลายน้ำตาลตัวไฮโดรมิเตอร์จะลอยขึ้นทำให้เราสามารถอ่านค่าสเกลบนตัวไฮโดรมิเตอร์ได้ สำหรับวิธีการอ่านที่ถูกวิธีคือ เติมน้ำเวิร์ทใส่กระบอกตวง แล้ววัดระดับให้มีความพอดีเพื่อให้ไฮโดรมิเตอร์ลอยตัวได้อย่างอิสระ และต้องระวังอย่าให้ระดับน้ำน้อยเกินไปเพราะจะทำให้ไฮโดรมิเตอร์จมโดนก้นกระบอกตวง สำหรับการอ่านค่าควรอ่านค่าจากระดับสายตาพร้อมกับกระบอกตวงควรตั้งอยู่ในแนวระนาบกับพื้นเพื่อให้ได้ค่าที่ถูกต้องและแม่นยำ 2. การวัดค่าแอลกอฮอล์โดยใช้ Refractometer การวัดมุมสะท้อนกลับทั้งหมด (Total internal reflection) โดยวิธีการทำงานสามารถใช้งานง่ายเพียงแค่ดูดน้ำเวิร์ทแล้วหยดลงบนปริซึม จากนั้นกดปุ่มอ่านค่า หน้าจอจะแสดงค่าของ %แอลกอฮอล์ (v/v) อีกทั้งยังใช้ปริมาณสารตัวอย่างน้อยมากประมาณ 100 µL การวัดค่าสีและความขุ่นของเบียร์ วิธีการวัดเพียงแค่นำไปเทียบกับแถบสี โดยหน่วยของการวัดเป็น SRM ที่ย่อมาจาก Standard Reference Method ในปัจจุบันเบียร์แต่ละประเภทก็จะมีสีที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ธัญพืชหรือมอลต์ในกระบวนการ Mash การวัดความขมของเบียร์…