FluorideFluoride is the element fluorine’s salt. Found naturally in soil, water, air, mineral stones, and even some foods. particularly seafood and certain vegetables, as well as being produced for a variety of purposes People can obtain natural sources of energy in their daily lives by drinking water and eating food. Fluoride is nearly completely absorbed…
ในประเทศไทยมีผู้สนใจเลี้ยงสัตว์ทะเลกันมากยิ่งขึ้น ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อความสวยงามและความชอบส่วนบุคคล เมื่อมีความสนใจที่จะริเริ่มเลี้ยงปลาทะเลจึงต้องคำนึงถึงปัญหาของตู้เลี้ยงสัตว์ทะเลทั่วๆ ไป คือการนำน้ำทะเลมาใช้ในการเลี้ยงสัตว์ทะเล จัดเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ดังนั้นน้ำที่เหมาะสมที่สุด คือน้ำทะเลจากธรรมชาติ โดยนำมาผ่านกรรมวิธีในการฆ่าเชื้อ และพักน้ำทิ้งไว้ประมาณ 3-7 วันก่อนจะนำมาใช้งานจริง และสิ่งที่ต้องคำนึงถึงรองลงมาคือ การควบคุมคุณภาพน้ำในระหว่างเลี้ยงปลา ซึ่งพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้อง การวัดค่าแอมโมเนีย ไนเตรต และไนไตรต์ หรือเรียกรวมว่า “สารประกอบไนโตรเจน” ซึ่งเกิดจากการขับถ่ายของเสียของสัตว์น้ำ และเศษอาหารที่ยังคงค้างในตู้ปลา ตามธรรมชาติแอมโมเนียที่เกิดจากของเสียที่สัตว์น้ำถ่ายออกมาจะถูกเปลี่ยนรูปเป็นไนไตรต์ และจะถูกเปลี่ยนมาเป็นไนเตรตโดยแบคทีเรียที่อยู่ตามชั้นกรวดในตู้เลี้ยงปลา ปริมาณแบคทีเรียจะขึ้นอยู่กับของเสียในตู้ปลา แอมโมเนีย เป็นผลผลิตจากของเสียที่สัตว์น้ำขับถ่ายออกมา เมื่อพบในปริมาณมากอาจทำให้เกิดความเป็นพิษชนิดรุนแรงของน้ำได้ เกิดจากสารประกอบโปรตีนถูกแบคทีเรียย่อยสลายกลายเป็นแอมโมเนีย ไนเตรต เป็นสารประกอบหลักของโปรตีนในน้ำทะเล ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสิ่งมีชีวิต แบคทีเรียและพืชบางชนิดสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้โดยตรง พืชสีเขียวอาจใช้ไนโตรเจนที่อยู่ในสารประกอบ เช่น แอมโมเนียหรือไนเตรต สำหรับการสังเคราะห์แสงเพื่อสร้างโปรตีน มีพิษน้อยกว่าแอมโมเนีย แต่หากพบในปริมาณมากก็จะส่งผลต่อคุณภาพน้ำเช่นกัน ไนไตรต์ เป็นสารที่พบได้น้อยมากในแหล่งน้ำ แต่สำหรับในบ่อเลี้ยงปลาที่มีการให้อาหารประเภทโปรตีนสูงจะทำให้ไนไตรต์เพิ่มขึ้นสูงมาก ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อระบบนิเวศในน้ำ ปริมาณสารประกอบไนโตรเจนชนิดต่างๆ ที่สะสมในน้ำ เป็นตัวบ่งชี้ถึงสภาวะความเน่าเสียของน้ำที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะแอมโมเนียพบว่าเป็นพิษต่อปลาและกุ้งในน้ำทะเลเมื่ออยู่ในรูปที่ไม่แตกตัวเป็นไอออน (Unionized Form) ส่วนในรูปที่สามารถแตกตัวได้พบว่าไม่มีพิษต่อสัตว์ทะเล เว้นแต่ว่าจะพบในปริมาณที่สูงมาก โดยการแตกตัวของแอมโมเนียจะขึ้นอยู่กับค่า pH…